ฟ้าเดียวกัน 14/1 : รัฐเร้นลึก

ลดราคา!

฿135.00


รหัสสินค้า: 9786167667485 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

รัฐเร้นลึก

ทัศนะวิพากษ์

รัฐเร้นลึกในไทย พระราชอำนาจ และศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2540-2558)

เออเจนี เมริโอ เขียน วีระ อนามศิลป์ แปล

ธรรมเนียม (ไม่เคย) ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ: ข้อโต้แย้ง จินตนาการในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยกระแสหลัก

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์

มาตรา 112 การเมืองของความกลัว และการสร้างความหวาดหวั่นโดยรัฐและสังคม : กรณีศึกษาก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

นพพล อาชามาส

กรอบการเปรียบเทียบ

เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน เขียน เกษียร เตชะพีระ แปล

อ่านต่อ >>

รัฐเร้นลึก

ในช่วงปลายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร ดันแคน แมคคาร์โก (Duncan McCargo) ได้เสนอแนวคิดเรื่อง เครือข่ายสถาบันกษัตริย์” (network monarchy) เพื่ออธิบายระเบียบการเมืองไทยร่วมสมัยที่การปกครองแบบเครือข่ายของชนชั้นนำ ซึ่งดำรงอยู่คู่ขนานไปกับการเมืองแบบเลือกตั้ง ได้ปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดูเป็นเสรีนิยมมากขึ้นและแทรกแซงการเมืองอย่างโจ่งแจ้งโดยตรงน้อยลง หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ระเบียบการเมืองไทยได้พ้นยุคสมัยของการใช้อำนาจดิบแบบรัฐประหารและกลไกล้าสมัยของข้าราชการไปแล้ว นับจากแนวคิดเรื่อง network monarchy ก็ได้รับความนิยมและโดดเด่นมากในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยเรื่อยมา

อย่างไรก็ดี แมคคาร์โกเสนอแนวคิดนี้ก่อนจะเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และ 22 พฤษภาคม 2557 กระบวนการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง แม้จะทำให้เราแลเห็น network monarchy ชัดเจนมากขึ้น แต่ก็นำไปสู่การตั้งคำถามต่อแนวคิดดังกล่าวของแมคคาร์โกเช่นกัน ว่าไม่น่าจะนำไปใช้อธิบายความเป็นจริงทางการเมืองของไทยซึ่งตกอยู่ในระบอบเผด็จการแบบเต็มรูปสลับซ่อนรูปมาเกือบทศวรรษแล้วได้

การพยายามในการถกเถียงกับกรอบแนวคิดเก่าแล้วเสนอแนวคิดใหม่ในการอธิบายระบอบการเมืองและเผด็จการไทยนั้น นำไปสู่งานศึกษาหลายชิ้นที่ปรากฏ

ในวารสาร Journal of Contemporary Asia (vol. 46, no. 3, 2016) ฉบับพิเศษว่าด้วยเรื่อง “Military, Monarchy and Repression : Assessing Thailand’s Authoritarian Turn”

หนึ่งในงานศึกษาชุดดังกล่าว ได้แก่ บทความเรื่อง “Thailand’s Deep State, Royal Power and the Constitutional Court (1997 -2015)ของเออเจนี เมริโอ(EugénieMérieau) ซึ่ง ฟ้าเดียวกัน ได้คัดเลือกนำมาแปลไว้ ณ ที่นี้ในชื่อ รัฐเร้นลึกในไทย พระราชอำนาจ และศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2540-2558)งานของเมริโอพยายามทำความเข้าใจการเมืองไทยโดยใช้แนวคิด “deep state” หรือ รัฐเร้นลึกผ่านการศึกษาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในบริบทของการเปลี่ยนผ่านแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมที่เป็นเสาหลักของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐเร้นลึกคืออะไร และจะสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจระบบระเบียบการเมืองไทยได้ดีกว่าแนวคิดอื่นแค่ไหน ก็ต้องพิจารณากัน

ไม่เพียงแต่รัฐเร้นลึกเท่านั้น บางครั้งเรื่องที่ถือกันว่าเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเรื่องพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ก็อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เพิ่งสร้างขึ้นภายใต้บรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน ดังที่ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ได้ชี้ไว้ในบทความ ธรรมเนียม (ไม่เคย) ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ : ข้อโต้แย้ง จินตนาการในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยกระแสหลักเช่นเดียวกับการสร้างความหวาดหวั่นโดยรัฐและสังคมต่อกรณีมาตรา 112 ที่นพพล อาชามาส ได้ศึกษาเรื่องการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ไว้ด้วย แน่นอนว่าการจะทำความเข้าใจการเมืองไทยไม่สามารถที่มองแต่ประเทศไทยอย่างเดียว กรอบการเปรียบเทียบงานเขียนชิ้นสุดท้ายของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ที่เกษียร เตชะพีระแปล ได้จับเอาการเมืองวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ มาเปรียบให้ให้เห็นความเหมือนและความต่าง ก็เป็นเครื่องมืออย่างดีที่ทำให้เราเข้าใจการเมืองไทยมากขึ้น

ทั้งหมดนี้ ฟ้าเดียวกัน ในฐานะที่เป็นพื้นที่แห่งการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ ขอเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณา

อ่านต่อ >>