รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ

ลดราคา!

฿360.00


รหัสสินค้า: 9786167667218 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

คำนำสำนักพิมพ์

คำนำผู้เขียน

บทที่ 1 ความเข้มแข็งของรัฐกับเศรษฐกิจการเมืองไทย

บทที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองของการปฏิรูปเศรษฐกิจ 2491-2500

บทที่ 3 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับกำเนิดระบบทุนนิยมนายธนาคาร

บทที่ 4 สี่สิบปีแห่งความสัมพันธ์ของพันธมิตรสามเส้า เจ้าสัวนายธนาคารขุนนางนักวิชาการ และผู้กุมอำนาจรัฐ (2500-2540)

บทที่ 5 ความเสื่อมของกลุ่มขุนนางนักวิชาการ กับวิกฤตเศรษฐกิจ 2540

บทที่ 6 หนึ่งทศวรรษแห่งความอ่อนแอของรัฐไทยในการจัดการเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตการณ์ 2540

บทที่ 7 สถาบันทางการเมืองกับความเข้มแข็งของรัฐ

บทที่ 8 บทสรุปการก่อเกิดและการล่มสลายของยุคทุนนิยมนายธนาคาร

ประวัติผู้เขียน

บรรณานุกรม

ดรรชนี

พลันที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อปี 2540 นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ บุคคลผู้ “ร่ำรวยที่สุดในประเทศ” ขณะนั้น ได้กลายเป็น “เจ้าสัวเยสเทอเดย์” ไปในชั่วข้ามคืน สินทรัพย์ของเขาจากที่เคยถือครองมากถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี 2539 ลดฮวบฮาบลงทันที 1 ใน 3 และ เหลือเพียง 746 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีถัดมา ขณะที่ปัจจุบันเราคงไม่สามารถจะกล่าว ได้อย่างเต็มปากเต็มคำอีกแล้วว่า ธนาคารกรุงเทพเป็นของโสภณพนิช

สิ่งที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นเพียงการลดลงของสินทรัพย์ของนายทุนธนาคารตระกูลใดตระกูลหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นภาพสะท้อนการสิ้นสุดของยุคสมัยที่เรียกกันว่า “ทุนนิยมนายธนาคาร” ของไทย ซึ่งเคยเข้ามาแทนที่ “ทุนนิยมข้าราชการ” และขับเคลื่อนโดยพันธมิตรสามเส้าระหว่างชนชั้นนำทางการเมือง-เทคโนแครต-นายธนาคารมาตั้งแต่ ทศวรรษ 2500 ยาวนานร่วม 4 ทศวรรษ

ระบบทุนนิยมไทยดังกล่าวนี้กำเนิดขึ้น พัฒนา และล่มสลายลงได้อย่างไร ด้วยเงื่อนไขปัจจัยอะไร และเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น เหล่านี้คือคำถามตั้งต้นที่หนังสือเล่มนี้ รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ : จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 พยายามจะตอบ

หนังสือของอภิชาต สถิตนิรามัยที่ท่านถืออยู่นี้ ซึ่งพัฒนามาจากวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกของผู้เขียนเรื่อง “The Rise and Fall of the Technocrats: The Unholy Trinity of Technocrats, Ruling Elites and Private Bankers and the Genesisof the 1997 Economic Crisis” (2002) และงานวิจัยเรื่อง “เศรษฐศาสตร์การเมือง ว่าด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจของไทย : การศึกษาเปรียบเทียบ พ.ศ. 2495-2506 กัน พ.ศ. 2540-2550” (2551) ถือได้ว่าเป็นหนังสือวิชาการเล่มแรกในโลกภาษาไทยที่ใช้มโนทัศน์ “ความเข้มแข็ง-ความอ่อนแอของรัฐ” มาอธิบายความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเมืองไทย

ภายใต้กรอบมโนทัศน์ที่ว่านี้ ผู้เขียนได้ค้นคว้าเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก เพื่อทำความเข้าใจพลวัตทุนนิยมไทยในระยะ 60 ปี เริ่มต้นตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ซึ่งผู้เขียนเสนอว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่มีการปฏิรูปรัฐไทยภายใต้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและบริบทสงครามเย็น อันเป็นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อเนื่องมาผ่านยุคเผด็จการทหาร-ประชาธิปไตยเบ่งบาน-เผด็จการขวาจัด-ประชาธิปไตยครึ่งใบ-ประชาธิปไตยเต็มใบ-รัฐบาลไทยรักไทย หลังมีรัฐธรรมนูญ 2540 และวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมาบัดนี้ก็ยังไม่สามารถเกิดการปฏิรูปครั้งใหม่ รวมทั้งยังไม่มีวิถีการสะสมทุนที่มาแทนที่ทุนนิยมนายธนาคารอันล่มสลายไปแล้วได้

รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ : จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540จึงเป็นอีกหมุดหมายหนึ่งของงานศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยและไทยศึกษา ซึ่งเรา –ฟ้าเดียวกัน– หวังว่า ผลงานของอภิชาต สถิตนิรามัยชิ้นนี้จะช่วยขยับขยายพรมแดนความรู้ เพิ่มพูนความรุ่มรวยในการศึกษาทำความเข้าใจ/การถกเถียง ว่าด้วยอดีต-ปัจจุบัน-อนาคตของเศรษฐกิจสังคมไทยต่อไป

อ่านต่อ >>