อาวุธมีชีวิต

ลดราคา!

฿110.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 9789749382394 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

คำนำสำนักพิมพ์

บทนำ

ทำความเข้าใจความรุนแรงเชิงวิพากษ์ผ่านปัญหาอาวุธมีชีวิต

ภาคหนึ่ง

บทที่ 1 ชาติพันธุ์และความขัดแย้ง : มรดกอันตราย ณ จุดเปลี่ยนศตวรรษ ?

บทที่ 2 ความรุนแรงกับมายาการแห่งอัตลักษณ์

บทที่ 3 ย่างศพทารก วิพากษ์ความรุนแรงทางวัฒนธรรมไทยสังคมไทย

บทที่ 4 ทั้งเป็น “เหยื่อ” และ “ฆาตกร” ? : สู่ทฤษฏีทั่วไปว่าด้วยความรุนแรงในสังคมไทย

ภาคสอง

บทที่ 5 อิสรภาพกับกระบวนทัศน์แห่งความรุนแรง

บทที่ 6 คำสั่ง 66/43? : รัฐ, ปัญหาวัฒนธรรมของรัฐกับการจัดการความขัดแย้งในศตวรรษใหม่

บทที่ 7 9/11, 9/20 และปริศนาของคานธี : เผชิญหน้าการก่อการร้ายยุคหลังสมัยใหม่ สงครามสมัยใหม่ ด้วยสันติภาพทางเลือก

บทที่ 8 เผชิญหน้าสงครามและการก่อการร้าย : สันติวิธีในฐานะทางเลือก

บทที่ 9 อุปลักษณ์สุขภาพ/สันติภาพเชิงวิพากษ์

ดรรชนี

อ่านต่อ >>

เรื่องเล่าของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในชั่วโมงเรียนวิชาว่าด้วยความรุนแรงและสันติวิธี รวมไปถึงการบรรยายในงานสัมมนาต่าง ๆ บ่อยครั้งไม่เคยลืมที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อแห่งความรุนแรงหลากหลายชนิดจากทั่วทุกมุมโลก เสียงเหล่านี้กระตุ้นมโนสำนึกของผู้คนที่ได้ยินให้ตระหนักรับรู้ถึงความทุกข์และภัยร้ายจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วไปทุกหย่อมหญ้า เหยื่อของความโหดร้ายทารุณเหล่านี้มีตัวตน มีชีวิตอยู่จริง และดำรงอยู่ใต้ฟ้าเดียวกันกับพวกเราทุกคน

ในโมงยามที่อภิมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกากำลังใช้คำประกาศ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” สร้างความชอบธรรมให้กับการทำสงครามที่อ้างว่าเพื่อปลดปล่อยประชาชนชาวอิรักอยู่นั้น เรื่องเล่าของเหยื่อจากสงครามในดินแดนอันไกลโพ้นก็ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กัน มิเพียงให้เราได้ยินในวันนี้ ทุก ๆ วันตลอดอีกสิบปีข้างหน้า เสียงของพวกเขายังไม่หายไปไหน แต่ก็อาจไม่มีใครได้ยินอีก

สงครามปิดฉากไปแล้วหลายตอน แต่ระบบอาวุธที่ใช้ในปฏิบัติการทางสงครามนั้นมิได้ตายตามไปด้วย หากยังดำรงชีวิตเคลื่อนไหวฉุดคร่าผู้คน

ในโลกอยู่นับแต่อดีตจนปัจจุบันไปถึงอนาคต เหตุแห่งการตายของชาวนาในกัมพูชาคนแล้วคนเล่าเกิดขึ้นเพราะกับระเบิดที่ถูกฝังไว้ใต้ดินในสมัยสงครามเย็นในเวียดนามยังพบกับระเบิดตามจุดต่าง ๆ หลังสิ้นสุดสงครามมาแล้วเกือบศตวรรษ ไม่รวมถึงบาดแผลทางร่างกายและจิตใจของเหล่าทหารอเมริกันครึ่งค่อนประเทศ และยังไม่นับอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีเมื่อครั้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ที่คงตามหลอกหลอนชาวญี่ปุ่นมาแล้วหลายทศวรรษ

ปรากฏการณ์เหล่านี้คือสัญญาณบ่งชี้ว่า ปัจฉิมบทแห่งสงครามมิได้จบลงที่ชัยชนะของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากผู้ใช้และผู้ตกเป็นเหยื่อต่างหากที่พ่ายแพ้แก่อาวุธในสงคราม มีเพียงแค่ปัจจุบันสมัยที่สงครามอุบัติขึ้น แต่จะล่วงเลยไปถึงกาลอนาคต ถึงลูกหลานของเราที่ชีวิตของเขาเดินทางอยู่บนเส้นด้ายแห่งความรุนแรงจากระบบอาวุธที่ดำรงอยู่ราวกับมีชีวิตเหล่านั้นตั้งแต่ แรกลืมตาขึ้นมาชมโลก

โดยทั่วไป เมื่อชี้ชวนให้พิจารณาปัญหาความรุนแรง เราคงจะเริ่มจากการตั้งคำถามในทำนองว่า “อะไรคือสาเหตุแห่งความรุนแรง?” หนังสือ อาวุธมีชีวิต?เล่มนี้เป็นความพยายามหนึ่งของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่จะเผชิญหน้ากับโลกแห่งความรุนแรงที่เราคุ้นชิน ด้วยมุมมองและทฤษฎีสันติภาพเชิงวิพากษ์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าคำถามดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ความรุนแรงได้อย่างถึงแก่น และไม่สามารถช่วยให้ค้นหาทางออกจากปัญหาความรุนแรงได้ หากคำถามสำคัญกว่านั้นที่เราควรพิจารณาคือ “อะไ เป็นเหตุผลข้ออ้างรองรับให้มนุษย์เห็นว่าความรุนแรงเป็นเครื่องมือและหนทาง แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้?” ต่างหาก

อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นผู้บุกเบิกหลักสูตรการสอนวิชาความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังอุทิศตนให้กับการเขียนการทำวิจัยด้านความรุนแรงและสันติวิธีอีกมากหลาย นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการทำงานกับองค์กรชาวบ้าน องค์กร พัฒนาเอกชนและภาครัฐอีกหลายแห่ง เช่น เป็นผู้บรรยายแนวคิดและปฏิบัติการสันติวิธีให้ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านตลอดจนหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ เป็นนักวิชาการที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองในสถานการณ์ ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐกับประชาชนอยู่เสมอ คุณูปการที่อาจารย์ทำมาทั้งหมดได้เปิดพื้นที่ให้การพูดถึง “สันติวิธี” ท่ามกลางการเผชิญกับปัญหาความขัดแย้ง กลายเป็นหนทางที่ส่งเสียง “ดัง” ขึ้นในสังคมไทย

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมเดินทางกับท่านผู้อ่านในการแสวงหาคำตอบจากคำถามข้างต้น เพื่อชวนให้ค้นหาอิสรภาพออกจากกระบวนทัศน์แห่งความรุนแรง สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน หวังว่าหนังสือ อาวุธมีชีวิต?ซึ่งรวบรวมจากบทความที่เขียนขึ้นในต่างกรรม ต่างวาระ ของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จะสามารถชวนให้ท่านผู้อ่านได้พินิจพิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงในลักษณะการวิพากษ์ นำไปสู่การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งที่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ได้… ด้วยปรารถนาในความสมานฉันท์ภายใต้แผ่นฟ้าเดียวกัน

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

อ่านต่อ >>