ฟ้าเดียวกัน 1/2 : เศรษฐทรรศน์วิพากษ์

฿80.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 97716856880052 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

หาเรื่องมาเล่า

องค์รวม/องค์ขาด/องค์อนันต์

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

สภาประชาชน

การแพทย์เชิงชาติพันธุ์

ทัศนะวิพากษ์

เศรษฐทรรศน์วิพากษ์พุทธเศรษฐศาสตร์

กองบรรณาธิการ

การเมืองเรื่อง “ความจริงแท้” ทางวัฒนธรรม บทสำรวจเชิงทฤษฎี

ประวิตร โรจนพฤกษ์

ประวัติศาสตร์ตัดตอน : บทสำรวจทัศนะ/ องค์ความรู้ของไทยต่อเพื่อนบ้าน

กองบรรณาธิการ

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

ขอบฟ้าความคิด

เหลียวหลัง แลหน้า เวทีสังคมโลก

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

มนุษยภาพ

MST ขบวนการแรงงานไร้ที่ดินในชนบทของบราซิล

ประภาส ปิ่นตบแต่ง

Art&Earth

ร่องรอยของ ‘ความจริง’ ในภาพถ่าย

วีรพา อังกูรทัศนียรัตน์

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

ประวัติ พคท. ฉบับ พคท (2)

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

คำสนทนาสุดท้ายของวิรัช อังคถาวร ในวารสารวิชาการเล่มแรกของ พคท.

ชัยธวัช ตุลาฑล

คำสนทนาเกี่ยวกับลักษณะสังคมไทย

ธ. เพียรวิทยา

อ่านต่อ >>

ญัตติสาธารณะ

การดำรงอยู่อย่าง เข้มแข็งของรัฐบาลไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรอบ2 ปีเศษที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ปรากฏการณ์ที่รัฐบาลสมัยปัจจุบันสามารถขยายตัวเข้ายึดกุมในเกือบทุกองคาพยพของสังคมไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ เด่นชัดจนนิธิ เอียวศรีวงศ์ถึงกับบอกว่า ประเด็นสาธารณะที่ครอบคลุมสังคมไทยอยู่ในเวลาสองปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นประเด็นที่ท่านนายกฯ ผลิตขึ้นทั้งนั้น

สภาพการณ์ดังกล่าว น่าจะชวนให้เราย้อนกลับตั้งคำถามกันมากขึ้นว่า ทำไมความหลากหลายในการกำหนด ญัตติสาธารณะจึงหายไปสวนทางกับสิทธิเสรีภาพที่ (ดูเหมือนจะ) มีมากขึ้น

ขณะที่นักวิชาการซึ่งเคยเป็นผู้ผลิตญัตติสาธารณะกลุ่มหนึ่ง ต้องตกเวทีไปเช่นเดียวกับนักการเมืองฝ่ายค้าน เพราะไม่สามารถให้ข้อมูลและข้อสรุปที่มาจากการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเพียงพอ จะมีก็แต่การให้สัมภาษณ์ในเชิงหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ขณะเดียวกัน สื่อก็ถูกทุนครอบงำอย่างแนบเนียน อีกทั้งยังไม่มี กึ๋นพอที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของการเมืองและสังคม และเมื่อหันมามองระดับรากหญ้า ความเคลื่อนไหวของประชาชนนั้นก็ประสบความสำเร็จแค่เรื่อง เป็นข่าว”…

หากมองถึงความเข้มแข็งของรัฐบาลไทยรักไทย โดยผ่านความสามารถในการกำหนด ญัตติสาธารณะได้อย่างเบ็ดเสร็จ เหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความสามารถของรัฐบาลในการผลิตชุดนโยบายต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าหลายนโยบายจะแสดง ธาตุแท้ของรัฐบาลออกมาเช่นนโยบายการแปรสัญญาโทรคมนาคม แต่ขณะเดียวกันนโยบายที่พยายามเข้าถึงคนเล็กคนน้อยในสังคม ไม่ว่า 30 บาท รักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, พักหนี้เกษตรกร, บ้านเอื้ออาทร ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบรับจากประชาชนในระดับที่น่าพอใจ จนทำให้นายกรัฐมนตรีถึงกับประกาศเสียงดังฟังชัดว่า รัฐบาลผมมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ทำทุกอย่างให้ประชาชน ไม่สนใจไอ้พวกตั้งชมรมบ้า ๆ บอ ๆ ขึ้นมาเมื่อ สภาประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ทำไม การเมืองภาคประชาชนจึงไม่สามารถเสนอ ญัตติสาธารณะที่มีพลังเพียงพอให้สังคมหันมาสนใจได้? คำตอบในทำนองว่า เพราะรัฐบาลปัจจุบันมีลักษณะอำนาจนิยมเหมือนยุคเผด็จการก่อน 14 ตุลา คงไม่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้รัฐบาลหันมาฟังการเมืองภาคประชาชนมากขึ้น หรือการโยนบาปไปให้สื่อ ก็คงไม่ได้ทำให้ภาคประชาชนมีพลังเพียงพอ

ปัญหาปัจจัยภายในการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน น่าจะเป็นวาระสำคัญหนึ่งให้เรามาสนทนากัน

การมีเพียงจุดยืนทางการเมือง ที่ประกาศเสมอว่ายืนอยู่ข้างประชาชนผู้ยากไร้ โดยไม่สามารถที่จะเสนอทางออก/ทางเลือกที่ลึกซึ้งเพียงพอ และขาดปฏิบัติการทางการเมืองที่ทรงพลัง ก็น่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ การเมืองภาคประชาชนไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะเสนอ ญัตติสาธารณะขึ้นเทียบกับรัฐบาลไทยรักไทยได้

ความคาดหวังของเราต่อการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชน อยู่ที่การยกระดับข้อเสนอ ข้อวิจารณ์ ที่ทะลุทะลวงมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งหนทางที่จะไปให้ถึงจุดนั้น คงมิใช่เรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งกำหนดได้ แต่ต้องอยู่ที่บรรยากาศการดำรงอยู่ของการเมืองภาคประชาชนว่าจะเปิดโอกาสให้ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

ฟ้าเดียวกัน เป็นผลผลิตของคนกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเรื่องราวการเคลื่อนไหวทางสังคมในมิติต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ปรารถนาจะเป็นพื้นที่สำหรับการถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นแวดล้อมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เพราะเราตระหนักดีว่า ปัญหาที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น เป็นภาระร่วมกันของสังคม ขณะเดียวกันก็ไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหา

สิ่งที่พวกเราพยามทำก็คือ การเป็นเวทีกลางในการนำเสนอ ไม่เพียงแต่ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องเผชิญกับรัฐบาลเท่านั้น แต่เราตระหนักว่าในสังคมไทยยังมีมายาคติอีกเป็นจำนวนมากที่เกาะแน่นกับสังคมมาช้านาน ไม่ว่าจะเปลี่ยนมากี่รัฐบาลแล้วก็ตาม ซึ่งหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การก้าวพ้นมายาคติได้ก็คือ การมีทัศนะที่วิพากษ์วิจารณ์

ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2546) สำเร็จออกมาได้ก็ด้วยความร่วมมือจากจากนักเขียน วิทยากรผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้ให้สัมภาษณ์ ในประเด็นต่าง ๆ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าจากหลาย ๆ ท่านภาย หลังจากได้รับวารสาร ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่ 1

การเปลี่ยนแปลงในฉบับนี้ จากคำแนะนำจากเพื่อนมิตร เราจึงได้เพิ่มคอลัมน์เกี่ยวกับศิลปะ/วัฒนธรรม ขึ้นมา ขณะที่คอลัมน์ สยามพากษ์ซึ่งเราเตรียมนำ“Studies of the Thai State: the State of Thai Studies” ของ Benedict Anderson มาแปลลงในฉบับนี้ ทางกองบรรณาธิการต้องขอยกไปไว้ในฉบับที่ 3 เนื่องจากปัญหาขนาดของบทความและขั้นตอนการบรรณาธิกร

สุดท้ายทางกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้รับคำติชมจากท่านผู้อ่านเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไข ฟ้าเดียวกัน ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

อ่านต่อ >>