ฟ้าเดียวกัน 2/4 : คนกันคนที่เคยอยู่คู่กันมา คนกับคนหันหน้าฆ่ากันเอง

฿100.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 9789749264997 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

หาเรื่องมาเล่า

รู้ได้อย่างไรว่ารู้ และจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่รู้

สำรวจ ทบทวน ท้าทาย กระแสภูมิปัญญา

จับตาการค้าเสรี

มหกรรมจัดทำ FTA

กลุ่มศึกษาการค้าเสรีภาคประชาชน

รายงานพิเศษ

ประเด็นไว้ในโลกา

กองบรรณาธิการ

ความในใจของคนไทยที่สงสารประเทศชาติยิ่งนัก

Art&Earth

บทเพลงแห่งดาระอั้ง

เมธัส บัวชุม

ขอบฟ้าความคิด

ชีวิตหลังระบบทุนนิยม

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

ทัศนะวิพากษ์

บทเรียน 30 ปี ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวนาชาวไร่ไทย

กนกศักดิ์ แก้วเทพ

รัฐเสรีนิยมใหม่ ทรัพยากรมนุษย์ และชุมชน

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

กบฏดุซงญอ การเมืองในประวัติศาสตร์

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

อ่านทอมมัสเพน ท่ามกลาง กระแสลัทธิชาตินิยมฝ่ายขวาไทย

ใจ อึ้งภากรณ์

สิทธิมนุษยชน (The Rights of Man)

ทอมมัสเพน

ในกระแส

พรรคการเมืองทางเลือกในเยอรมนี

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

มนุษยภาพ

นักอนาธิปไตยแนวใหม่

เดวิด เกรเบอร์

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

“แถลงการณ์ 30 ปี” ผลึกแห่งความคิดปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

พุทธพล มงคลวรรณ

แถลงการณ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเนื่องในวันก่อตั้งพรรคครบ 30 ปี

อ่านต่อ >>

ทางเลือกทางการเมืองต่อกรณีปัญหาภาคใต้

ไม่ว่ารัฐบาลจะ “ปรับขุนพล” ไปอย่างไร แต่สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยิ่งห่างไกลจากความสงบเข้าไปทุกขณะ และในห้วง 3 เดือนที่ผ่านมา คงไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะสะเทือนความรู้สึกของสังคมได้เท่ากับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547

กล่าวสำหรับกรณีตากใบในทัศนะของเรา แน่นอนที่สุดเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องแสดงความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น 6 ศพ ที่เสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุม หรือว่าจะเป็น 79 ศพ ที่เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่นั้น ซึ่งไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่รัฐจะปัดความรับผิดชอบไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงความบกพร่องในวิธีปฏิบัติของทหารชั้นผู้น้อยดังที่รัฐบาลพยายามสอบสวนอยู่ในขณะนี้ แต่โศกนาฏกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในสายตาของรัฐนั้น ผู้ถูกจับกุมทั้ง 1,300 คน มิใช่มนุษย์หรือพลเมืองที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน พวกเขาจึงได้รับการปฏิบัติเสมือนฝูงสัตว์ที่ถูกลำเลียงไปกระทำทารุณกรรม

อย่างไรก็ตาม ลำพังการพุ่งเป้าโจมตีไปที่รัฐในฐานะกลไกก่อความรุนแรงนั้น คงไม่เพียงพอสำหรับการคลี่คลายสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เพราะ “โจทย์สำคัญ” ของเรื่องนี้ที่ผู้ใฝ่สันติภาพทั้งหลายต้องช่วยกันไตร่ตรองก็คือ ความรู้สึกนึกคิดของคนไทย “ส่วนใหญ่” ที่แสดงออกมาว่าสนับสนุนแนว

นโยบายและการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ ดังที่ปรากฏอยู่ในรายการวิทยุโทรทัศน์ โพลสำรวจความคิดเห็น บทสนทนาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนมิตร หรือตามกระดานแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ทั่วไป

มากไปกว่านั้น มีบ่อยครั้งที่บางคนได้แสดงความไม่พอใจในทำนองว่า รัฐบาลยังอ่อนแอเกินไปในการจัดการปัญหาชายแดนภาคใต้ หรือเสนอให้เจ้าหน้าที่ใช้มาตรการปราบปรามขั้นเด็ดขาดกว่าที่เป็นอยู่เสียด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์นักวิชาการหรือกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลใช้สันติวิธี

ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ไม่ใช่หรือ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่คอยโอบอุ้ม / รับรองความรุนแรงที่รัฐกระทำในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยแรงผลักจากปฏิบัติการฆ่ารายวันของผู้ก่อการ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมิได้มีใครแสดงตัวออกมารับผิดชอบหรือแถลงเป้าประสงค์ใด ๆ

ขณะที่ความรุนแรงจากการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ ก็เป็นแนวร่วมมุมกลับ ช่วยผลักให้ชาวมลายูมุสลิมสายกลางในพื้นที่หันไปหากลุ่มหัวรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน

“ช่องว่างทางสังคม” ในแนวราบระหว่างประชาชนกับประชาชนที่กำลังถ่างออกด้วยแรงผลักของทั้ง 2 ฝ่ายข้างต้น ทำให้สังคมไทย โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ตกอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง น่าเป็นห่วงดังที่เกษียร เตชะพีระได้เอ่ยถามไว้ในบทความ “หลังความตายที่ตากใบ” (มติชนรายวัน,5 พ.ย. 2547) ว่า “ทั้งผู้ก่อการร้ายและนโยบายกับการปฏิบัติที่ผิดพลาดรุนแรงซ้ำซากของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ กำลังจะพาชายแดนภาคใต้ประเทศไทยและพวกเราทุกคนลื่นไถลเมือกเลือดไปไกลถึงที่ใด?”

เช่นนี้แล้วเรา -ผู้ใฝ่หาเสรีภาพ- จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้อย่างไรกันบ้าง

เรื่องนี้คงต้องอาศัยการระดมพลังความคิดและปฏิบัติการที่เป็นจริงครั้งใหญ่ รวมทั้งเราคงต้องช่วยกันทบทวนการเคลื่อนไหวของผู้ใฝ่หาเสรีภาพ ที่พยายามกดดันให้รัฐยุติความรุนแรงและเสนอแนวทางแก้ปัญหาแบบสันติวิธีในช่วงที่ผ่านมาด้วยว่า เหตุใดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เรายังมีด้านอ่อนและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

จากการสัมมนาของ ฟ้าเดียวกัน และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เรื่อง “ข้อเสนอภาคประชาชนต่อสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้” เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดได้ใน ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่แล้ว) มีการพูดคุยในบางประเด็นที่น่าจะนำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ประการหนึ่ง คือ สำหรับประชาชนที่ยืนสายกลางและไม่มีข้างให้เลือก เราควรจะแสดงพลังต่อต้านความไม่เป็นธรรมและความรุนแรงจากทั้ง 2 ฝ่าย มาตรฐานทางศีลธรรมที่เราเรียกร้องกับรัฐ เราก็ต้องเรียกร้องต่อผู้ก่อการและชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย คงต้องถามกันว่ามีวิธีการต่อสู้แบบอื่นไหมที่ไม่ฆ่าคนบริสุทธิ์ ถึงแม้จะเป็นการต่อสู้กับการกดขี่ก็ตาม มีแต่ต้องยืนบนค่านิยมแบบนี้เท่านั้น มันจึงจะมีน้ำหนักพอที่จะชวนให้คนอื่นในสังคมร่วมแรงกับคนภาคใต้

อีกประการหนึ่ง คือ เราคงต้องสร้าง “ทางเลือกทางการเมือง” ของประชาชนที่ไม่ได้อยู่ข้างรัฐหรือกลุ่มหัวรุนแรง เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่ม มีแต่ทางเลือกเชิง “การทหาร” เท่านั้น ซึ่งในเรื่องนี้ เกษียร เตชะพีระได้ทดลองเสนอแนวทางนำร่องไปแล้วว่า ควรเปิดเวทีสาธารณะในประเด็นวิสัยทัศน์และแนวทางปฏิรูปการเมืองชายแดนภาคใต้ เพื่อนำเสนอการเมืองทางเลือกที่จะทำให้ภาคใต้เป็นที่อยู่ร่วมกันของพี่น้อง เชื้อชาติศาสนาต่าง ๆ ได้อย่างสันติสุข โดยอาจมีจุดเริ่มต้นจากการนำเอาข้อเสนอปฏิรูปการเมืองการปกครองชายแดนภาคใต้ที่สำคัญเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์มาพินิจพิจารณาร่วมกัน ตั้งแต่ “คำขอ 7 ประการ” ของหะยีสุหรง อับดุลกาเดห์ ที่เสนอต่อรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2490 มาจนกระทั่งข้อสรุปปัญหาและข้อเสนอชุดที่รองนายกรัฐมนตรี จาตุรนต์ ฉายแสง ไปรับฟังประชาคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มา นำมาให้ฝ่ายต่าง ๆ อภิปรายถูกเถียง หาทางปรับแก้ข้อเสนอเหล่านี้ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยน แปลงไป

..ไม่ต้องไป “หัดยิงปืน” หรอกครับ สันติสุขเกิดขึ้นได้ด้วยพลังประชาชน

อ่านต่อ >>