ฟ้าเดียวกัน 5/1 : 75 ปี หลัง 2475

ลดราคา!

฿135.00


มีสินค้าอยู่ 19

รหัสสินค้า: 9789747025453 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

จดหมายถึงกองบก.

ปฏิกิริยา

โสเภณีแห่งทุนนิยม

สฤณี อาชวานันทกุล

โต้กระแสทวนประวัติศาสตร์

สุพจน์ ด่านตระกูล

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

ชานหนังสือ

มองชายแดนใต้ผ่านเรื่องเล่าของผู้สูญเสีย shumbala star

หาเรื่องมาเล่า

ทหารอุษาคเนย์

สรัญญา มูลมา

จาก “ขุนศึก” สู่ “ทหารของพระราชา”

พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์

รัฐประหาร 19 กันยา ในแง่ปรัชญาการเมือง

พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์

คำขบวน

Direct Action ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้า

ภัควดี วีระภาสพงษ์

ปีกซ้ายไร้ปีก

ความตกต่ำของฝ่ายซ้ายในอุษาคเนย์

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ในกระแส

ฮูโก ชาเวช กับการปฏิรูปจากเบื้องบนลงมา

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

ส่องศิลป์

ศิลปะคณะราษฎร

ชาตรี ประกิตนนทการ

ทัศนะวิพากษ์

เก็บภาษีมรดกในประเทศสยาม

ประการ กลิ่นฟุ้ง

ผลกระทบทางกฎหมายของรัฐประหารในทางระหว่างประเทศ

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

ทักษิณา-ประชานิยม: คู่มือรัฐประหารและการเขียนรัฐธรรมนูญสีเหลือง?

ประภาส ปิ่นตบแต่ง

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

มาลาเซียกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

พวงทอง ภวัครพันธุ์

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ว่าด้วยหนังสือพิมพ์มหาชนฯ

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

ประชาธิปไตยอยู่ที่ไหน? (การต่อสู้ระหว่างเจ้ากับฝ่ายราษฎร)

รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 6 วันศุกร์ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2491

อ่านต่อ >>

การเดินทางเพื่อกลับไปที่เดิม?

ถึงแม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในความหมาย ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐ และทรงเป็นประมุขฝ่ายบริหาร โดยมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ” (พจนานุกรมฉบับมติชน, น 837) จะถึงกาลอวสานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หรือเมื่อ 75 ปีที่แล้ว พร้อมๆ กับการสถาปนาแนวคิดที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ดังปรากฏในคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ว่า ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่เป็นของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวงและมาตอกย้ำในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นมิใช่สิ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆ แต่ตามมาด้วยภารกิจดังที่ปรากฏในหลัก 6 ประการของคณะราษฎรว่า

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกๆ คนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรได้สิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ในยุคของคณะราษฎร (2475-2490) เราจึงเห็นความพยายามเพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศมหาอำนาจ, การตรากฎหมาย, การจัดตั้งสถาบันการศึกษาหรือแม้แต่การสถาปนาสกุลศิลปะของคณะราษฎรขึ้นมา

แต่ความพยายามเหล่านั้นก็ไม่อาจทัดทานการดิ้นรนต่อสู้ของกลุ่มอำนาจเก่าที่ต้องการหวนคืนสู่อำนาจอีกครั้งได้ เพียงแต่การต่อสู้นั้นมิใช่เพื่อนำระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับมา หากใช้ทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มพระราชอำนาจให้มากที่สุด ไม่ว่าจะวิถีทางกฎหมาย เช่นการต่อรองในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ไปจนถึงการใช้วิถีทางที่ผิดกฎหมายอย่างโจ่งแจ้ง คือการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งนอกจากจะเป็นต้นแบบของการรัฐประหารมาจนถึงปัจจุบันแล้วยังเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของกลุ่มนิยมเจ้าหลัง 2475 อีกด้วย

นับแต่นั้นมาความพยายามที่จะเพิ่มพระราชอำนาจก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องถวายพระราชอำนาจคืน (ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2490 และถูกนำกลับมาใช้ในการต่อสู้กับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2548), การก่อเกิดแนวคิดเอนกชนนิกรสโมสรสมมติ (ซึ่งนำแนวคิดก่อน 2475 มา นิยามว่าการปกครองในยุคนั้นก็เป็นประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน), การพึ่งพระบารมี, การถวายฎีกา เรื่อยมาจนถึงการขอนายกฯ พระราชทานตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 และสุดท้ายก็จบลงด้วยการรัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” !

ในปีที่เราควรเฉลิมฉลอง 75 ปี ของการปฏิวัติสยามที่เป็นการพลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง เรากลับต้องมาอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารที่ชื่อ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่แปลงร่างเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในทุกๆ เรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ, การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ไม่มีส่วนไหนที่ยึดโยงกับเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่อย่างใด หรือ 75 ปีของการปฏิวัติสยามจะไม่มีความหมายใด ๆ เพราะเรากำลังเดินกลับไปสู่ที่เดิม?

อ่านต่อ >>