ฟ้าเดียวกัน 5/4 : ชำแหละรัฐ-ชาติ

฿200.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 9789741360017 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

จดหมายถึงกองบก.

ปฏิกิริยา

ชุมชน : เครื่องมือเดิมๆ สำหรับนักวิชาการ

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล

หาเรื่องมาเล่า

บาปของนักมานุษยวิทยา

คำขบวน

Globalization – โลกาภิวัตน์

ภัควดี วีระภาสพงษ์

อ่านต่อ >>

เงินเดินดิน

เงินกับธรรมชาติมนุษย์

สฤณี อาชวานันทกุล

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

ปีกซ้ายไร้ปีก

พม่า : การปฏิวัติด้วยชายจีวร ?

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ส่องศิลป์

สัญลักษณ์ชาติไทยในจิตนาการทางสถาปัตยกรรม

ชาตรี ประกิตนนทการ

ทัศนะวิพากษ์

ทิศทางไทยเพื่อความเป็นไท

ส. ศิวรักษ์

ความถูกต้อง (ไม่) ห้าม : จักรญาณนิยม

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

ลัทธิชาตินิยมกับเรื่องบทบาททางเพศในประเทศไทย พ.ศ. 2453 – 2468

ThamoraFishelเขียน ปรียา แววพงษ์ แปล

วิวาทะรัฐ – ชาติในศตวรรษใหม่

รัฐ – ชาติกับโลกาภิวัตน์ หลังยุคสงครามเย็น และหลังสมัยใหม่

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

โลกาภิวัตน์ การเมืองแบบหลังสมัยใหม่ และการต่อต้านรูปแบบใหม่

เชษฐา พวงหัตถ์

รัฐชาติ โลกาภิวัตน์ และน้ำยานักมานุษยวิทยา

ยุกติ มุกดาวิจิตร

พิศระเบียบรัฐ โลกาภิวัตน์ฯ

เกษม เพ็ญภินันท์

ลัทธิชาตินิยมกับเรื่องบทบาททางเพศในประเทศไทย พ.ศ. 2453 – 2463

ThamoraFishelเขียน ปรียา แววหงส์ แปล

รายงานพิเศษ

“บรรดาชาติชน ชื่นชมสนใจ ถวายบังคมเทิดไท้ ภูมิพลมหาราช”

กานต์ ยืนยง

“ความเป็นไทย” ในสังคมไทยร่วมสมัย

วริศา กิตติคุณเสรี

ชานหนังสือ

เอเชียตะวันออกยุคใหม่

ในกระแส

การกลับมาของสังคมนิยมในศตวรรษที่ 21

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

บทเรียนภาคประชาชน?

 

ด้วยปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร ที่ยึดอำนาจการปกครองมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้กระทำการออกกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้ระบบราชการและเพื่อประโยชน์ให้นายทุน แต่กลับทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชนและชุมชน และกำลังจะนำพาสังคมไทยถอยหลังไปสู่ระบบอำมาตยาธิปไตยแทนที่การสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย… พวกเราใน ฐานะพลเมืองของประเทศไทย จึงขอใช้สิทธิประกาศ ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ เพื่อหยุดการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

 

ประกาศ ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ หยุดการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน12 ธ.ค. 2560

 

การตัดสินใจระดมกำลังเพื่อปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำโดยคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ด้านหนึ่งย่อมมีความชอบธรรมในแง่ที่เป็นการต่อต้านร่างกฎหมายอันจะละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือส่งผลลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

กระนั้น อีกด้านหนึ่งโดยตัวมันเอง การปิดสภานี้ย่อมสะท้อนข้อผิดพลาดล้มเหลวของ เครือข่ายภาคประชาชนด้วย

แน่นอน มิใช่ข้อผิดพลาดในแง่ ความไม่เหมาะสมของการปีนรั้วเข้าไปขัดขวางการประชุมสภาฯ ดังที่ถูกตั้งคำถามโดยสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งที่แทบจะไม่เคย

อ่านต่อ >>

ตั้งคำถามถึงความไม่เหมาะสมของคณะทหารที่ลากรถถังออกมาล้มล้างรัฐธรรมนูญเมื่อคราว 19 ก.ย. 2549

ทว่าเป็นความผิดพลาดล้มเหลวในระดับยุทธศาสตร์ของ ภาคประชาชนกลุ่มนี้

เป็นความผิดพลาดที่ประจักษ์ชัดผ่านปรากฏการณ์การออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ กป.อพช. และพันธมิตรเห็นว่าจะ นำพาสังคมไทยถอยหลังไปสู่ระบบอำมาตยาธิปไตยแทนที่การสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยเป็นประจักษ์พยานแห่งความผิดพลาดที่มิได้ล่องลอยมาจากตำราบน หอคอยใดๆ

ต้องไม่ลืมว่าการดำรงอยู่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น แยกไม่ขาดจากการรัฐประหาร 19 กันยา แยกไม่ขาดจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในปัจจุบัน รวมทั้งรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ และกระบวนการอื่น ๆ ที่ตามมา

ในเมื่อกระบวนการรัฐประหารได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นยิ่งจาก ภาคประชาชนแม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุนคณะรัฐประหารออกมาเปิดเผย แต่ก็ไม่ต่อต้าน ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงบางส่วนที่สมยอม จำนวนไม่น้อยก็แอบ โล่งใจที่สังคมการเมืองไทยได้ค้นพบ ทางลัดออกจาก ระบอบทักษิณเสียที ที่สำคัญคือ เห็น โอกาสที่จะยกเลิกนโยบายเสรีนิยมใหม่ ปราบปรามคอร์รัปชั่น เห็น ช่องทางผลักดันกฎหมายดีๆ เพื่อสังคมและการปฏิรูปการเมืองผ่านครรภ์ของเผด็จการทหาร-การดำรงอยู่ของ คมช. รัฐบาลฤาษีเลี้ยงเต่า และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็เป็นไปอย่างอบอุ่นยิ่งเช่นกัน

พลันเมื่อกลุ่มพลังอำมาตยาธิปไตยดํารงอยู่อย่างอบอุ่น กระบวนการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ที่โน้มเอียงไปสู่อำมาตยาธิปไตยจึงดำเนินไปอย่างยากจะทัดทาน

หากมองให้เห็นเหตุปัจจัยเช่นนี้แล้ว คำถามคือ ใช่หรือไม่ว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนนั้นมีความขัดแย้งกันในตัวเองระหว่างเป้าหมายกับวิธีการ? ใช่หรือไม่ว่าภาคประชาชนเองก็ มีส่วนร่วมในการ นำพาสังคมไทยถอยหลังไปสู่ระบบอำมาตยาธิปไตยแทนที่การสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน? และอะไรคือ ความรับผิดชอบที่ ภาคประชาชนควรมีต่อ ประชาชน”?

เหล่านี้เป็นคำถามที่เราไม่สามารถปล่อยให้ลอยหายไปในสายลมได้ หากต้องการการถกเถียงแลกเปลี่ยนและสรุปบทเรียนอย่างกว้างขวางจริงจัง ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของการเมืองภาคประชาชน – ผ้าซับน้ำตาโลกาภิวัตน์ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร