ฟ้าเดียวกัน 9/1 : ประชาธิปไตยที่ “งอกจากดิน” ของเราเอง

฿200.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 9786169080244 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

ประชาธิปไตยที่ งอกจากดินของเราเอง

หาเรื่องมาเล่า

จตุสดมภ์ภูมิปัญญาไทยสมัยใหม่

ดาริน อินทร์เหมือน

ทุนทางสังคม ประชาสังคม กับการปฏิรูปประชาธิปไตย

ดาริน อินทร์เหมือน

คำขบวน

Sodal Centers ศูนย์สังคม

ภัควดี วีระภาสพงษ์

มหาชนทัศนะ

กฎหมายกับ อุดมการณ์

ปิยบุตร แสงกนกกุล

พากย์สนาม

ใต้เงาสงคราม (Shadow of War)

บุญเลิศ วิเศษปรีชา

รายงานพิเศษ

การ เปลี่ยนผ่านรัชสมัย ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย

ธนาพล อิ๋วสกุล

มกุฎราชกุมารทรงสนทนาเรื่องสถาบันกษัตริย์และการเมืองในการเข้าเฝ้าถวายบังคมลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูต ในวิกิลีกส์

เอกอัครราชทูตหารือกับเปรม ประธานองคมนตรีและบุคคล ผู้ทรงอำนาจ” อื่น ในวิกิลีกส์

ทัศนะวิพากษ์

ความยุ่งเหยิงทางการเมืองในประเทศไทย : การวิเคราะห์จากแง่มุมทางประวัติศาสตร์

ชินอิชิ ชิเกโตมิ เขียน อุเชนทร์ เชียงเสน แปล

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข : ที่มาและที่ไป

เกษียร เตชะพีระ

กำเนิดระบอบประชาธิปไตยแบบอำนาจจำกัด: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย 2475-2490

ณัฐพล ใจจริง

การปรองดองกับอำนาจนิยมของนักนิติศาสตร์ไทยกระแสหลัก

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ประชาสังคม ความรุนแรง และการล่มสลายของประชาธิปไตย : ความสำคัญของแนวคิดเรื่องความมีอารยะและการเมืองแบบอารยะของเอ็ดเวิร์ด ชิลส์

ประจักษ์ ก้องกีรติ เขียน ดาริน อินทร์เหมือน แปล

การลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตย ณ เมืองกวางจู สาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ.1980 และการพิจารณาคดีการปราบปรามประชาชน

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

นวนเจียวัยหนุ่ม กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2485-2493): ชีวิตในกรุงเทพฯ ของชายผู้กลายมาเป็น ‘Brother No. 2’ของเขมรแดง

เออิจิ มูราชิมา เขียน ปราการ กลิ่นฟุ้ง แปล

หลักนโยบายต่อต้านญี่ปุ่น (8 ธันวาคม 2485)

เอกสาร พคท.

อ่านต่อ >>

ประชาธิปไตยที่ “’งอกจากดิน” ของเราเอง

 

พื้นเพการงานทั้งปวงไม่เหมือนกัน เหมือนหนึ่งจะไปลอกเอาตำราทำนาปลูกข้าวสาลีเมืองยุโรป มาปลูกข้าวเจ้าข้าวเหนียวในเมืองไทยก็จะไม่ได้ผลอันใด

พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2446)

ในบรรดาคำอธิบายอันทรงพลังของชนชั้นนำสยามเมื่อต้องเผชิญกับการท้าทายจากความรู้สึกนึกคิด สำนึก หรือกระแสภูมิปัญญาใหม่ของราษฎร ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมหรือระบบระเบียบทางการเมืองแต่ละยุคแต่ละสมัย ให้เป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อชนส่วนใหญ่ อาทิเช่น ข้อเรียกร้องเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยของปัญญาชนนอกระบบอย่างเทียนวรรณ พระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวข้างต้น ถือเป็นแม่แบบคำอธิบายที่เหล่าชนชั้นนำนำมาใช้โดยตลอด ซึ่งบริบทขณะนั้น ในทรรศนะของพระองค์ สถาบันทางการเมืองอย่างเช่น โปลิติกัลปาตีก็ดี ปาลิเมนต์ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสังคมสยาม อันมี ลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใครในโลก

นี่เป็นกระบวนท่าของชนชั้นนำสยามในการทำให้ความรู้สึกนึกคิด สำนึก หรือกระแสภูมิปัญญาใหม่ เป็นอื่นหรือ เป็นฝรั่งไม่สามารถบ่มเพาะให้เติบโตเจริญงอกงามได้บนเนื้อนาดินแห่งสยาม

อย่างไรก็ดี ชนชั้นนำสยามก็ไม่สามารถทัดทานความเปลี่ยนแปลงได้ การปฏิวัติสยามจึงเกิดขึ้นในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2475 ท่ามกลางความเสื่อมทรุดและความขัดแย้งภายในของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คัดสรร นำเข้าระบบการเมืองนี้มาจาก อาณานิคมฝรั่งเพื่อกระชับอำนาจเข้าสู่สถาบันกษัตริย์) ดังความเห็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ว่า พระราชวงศ์ตกต่ำ ราษฎรหมดความเชื่อถือ สมบัติเกือบหมดท้องพระคลัง รัฐบาลฉ้อฉล การบริหารราชการยุ่งเหยิง

หลังจากนั้น แม้ระบบระเบียบการเมืองไทยจะมิได้หวนคืนกลับไปหาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไปแล้ว ทว่าการต่อสู้ต่อรองระหว่างฝ่ายนิยมระบอบเก่ากับฝ่ายนิยมระบอบใหม่ก็ยังคงดำเนินต่อไป ทั้งในระบบ/นอกระบบ ตามกฎหมาย/นอกกฎหมาย ใต้ดิน/บนดิน เปิดเผย/แอบแฝง ผ่านรัฐธรรมนูญ รัฐสภา รัฐบาล กฎหมาย การก่อกบฏรัฐประหาร การสืบราชสมบัติ การลอบสังหาร งานวิชาการ สารคดีการเมือง วรรณกรรม อนุสาวรีย์ หรือแม้กระทั่งพจนานุกรม เป็นต้น

หลังการต่อสู้อันยาวนาน ฝ่ายกษัตริย์นิยมก็ได้บรรลุถึงสิ่งที่ตนเองต้องการ คือ การสถาปนา ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในทศวรรษ 2490 กระทั่งเติบโตงอกงามกลายเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี เมื่อสภาพการณ์และเงื่อนไขทางสังคมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ดูจะเกิดแรงตึงเครียดขัดแย้งภายในขั้นวิกฤต จนปรากฏออกมาในรูปของการรัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

น่าเสียดายที่ชนชั้นนำและปัญญาชนจำนวนมาก ทำเป็นมองไม่เห็นปัญหาที่ระบอบนี้กำลังกัดกินตัวเอง แต่กลับหันเหต้นตอแห่งวิกฤตไปยัง ผีทักษิณและ/หรือแนวคิดประชาธิปไตยที่พวกเขาแปะป้ายว่ายึดติด ฝรั่งไม่ต่างจากพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อกว่าศตวรรษก่อน

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก็สมาทานความคิดทำนองเดียวกันมาผลิตซ้ำ เพื่อตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยา ว่า เวลาคิดถึงประชาธิปไตย ไม่ควรเทียบกับที่อยู่ในกระดาษ แต่ต้องดูประชาธิปไตยที่ งอกจากดินของเราเองให้มาก… ปัญหาของเราเวลานี้คือโครงสร้างทางสังคมที่เป็นจริง ไม่ได้มีแต่ประชาชน แต่มีอภิชนและสถาบันดังเดิม เพราะฉะนั้นการสร้างประชาธิปไตยต้องสร้างบนพื้นฐานที่เป็นจริงของเรา” (“ต้องดูประชาธิปไตยที่งอกจากดินของเราเองให้มาก,” กรุงเทพธุรกิจ, 9 ธันวาคม 2549)

อันที่จริง ในแง่หนึ่ง พระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและแนวคิดของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ดังกล่าว ก็มีส่วนถูกต้อง กล่าวคือ สังคมทุกสังคมหรือประเทศทุกประเทศนั้น ล้วนแต่มี ลักษณะเฉพาะของตน และ ไม่เหมือนใครในโลกทั้งสิ้น ระบบระเบียบทางการเมืองและความสัมพันธ์ทางสังคมของแต่ละแห่ง ก็ย่อม งอกจากดินของตนทั้งสิ้น แม้ว่าบางครั้งเราจะได้รับเมล็ดพันธุ์แปลกใหม่มาจากภายนอกบ้างก็ตาม แต่มันมักจะถูกเลือกสรร คัดทิ้ง ดัดแปลง (ตามแต่ผลประโยชน์และอุดมการณ์ของผู้นำเข้า) ผ่านกระบวนการทำให้เป็นแบบฉบับของเราเสียก่อนที่จะเจริญงอกงาม

ปัญหาคือ เหล่าชนชั้นนำจำนวนมากลืมตระหนักไปว่า สิ่งที่ งอกจากดินของเรานั้น ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงและกระทั่งดับสูญได้ไปตามปัจจัยภายในของ เนื้อดินของตน ซึ่งมีพลวัตตลอดเวลา เช่นกัน

ดังนั้น ปมประเด็นปัญหาการเมืองประการสำคัญ ณ ขณะนี้ จึงไม่ใช่อยู่ที่สิ่งแปลกปลอมจากภายนอกอันไม่เหมาะที่จะเจริญงอกงามในเนื้อนาดินของเรา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเรียกว่า ประชาธิปไตยหรือหลักการสากล อาทิ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน สิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่เป็นการที่ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำลังกัดกินตนเองอย่างไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งฝ่ายกษัตริย์นิยมกำลังสูญเสียฐานะครอบงำทางอุดมการณ์ต่างจากที่เคยเป็นมาในหลายทศวรรษ

เหล่าอภิชนและสถาบันดั้งเดิมใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่างหาก ที่ต้องเป็นฝ่ายคิดให้หนักและตอบให้ได้ว่า จะยังคงผลักให้ความขัดแย้งลงรากลึกในเนื้อดินจนไม่เหลือ ที่ว่างให้แก่ตน หรือไม่

อ่านต่อ >>