ฟ้าเดียวกัน 9/3 : สัตว์สี่ขาของพระราชา

ลดราคา!

฿180.00


รหัสสินค้า: 9786167667027 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

จากทหารพระราชา สู่ทหารพระราชา?

จดหมายถึงกองบ.ก.

คำขบวน

Operaismo (Workerism) and Autonomist Movements ลัทธิแรงงานนิยม และขบวนการอัตตาณัติ

ภัควดี วีระภาสพงษ์

มหาชนทัศนะ

การประหารชีวิตหลุยส์ที่ 16 ในความคิดของแซ็ง-มุสต์ (Saint-Just)

ปิยบุตร แสงกนกกุล

ทัศนะวิพากษ์

กองทัพ: สัตว์สี่ขาของราชาหรือประชาชน?

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

เวรกรรมและวาทกรรม : รัฐประหาร 2549 กับปัญหาชายแดนภาคใต้

มาร์ค แอสคิว

วาทกรรมว่าด้วยการซื้อเสียง และการปฏิรูปการเมืองในประเทศไทย

วิลเลียม เอ. คัลลาฮาน

กำเนิด เสื้อแดงในฐานะขบวนการโต้กลับ

อุเชนทร์ เชียงแสน

ผมสูญเสีย สถาบันครอบครัวไปอย่างไม่มีวันกลับเพียงเพราะคนบางกลุ่ม (อ้างว่า) ต้องการปกป้อง สถาบันกษัตริย์

หนุ่มแดงนนท์

จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้

ธนาวิ โชติประดิษฐ

บันทึกร่วมสมัย ที่สื่อกระแสหลักไม่สนใจ

ส.ศิวรักษ์

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

ลีมิตเต็ด มอนากี้ กับ รีปับบลึก สำนึกทางประชาธิปไตยของทหารใหม่ ร.ศ. 130

ณัฐพล ใจจริง

ว่าด้วยความเสื่อมซาม แลความเจรีญของประเทศ

อ่านต่อ >>

จากทหารพระราชสู่ทหารพระราชา?

กองทัพสมัยใหม่ของสยามนั้นกำเนิดขึ้นมาในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีภารกิจที่แท้จริงคือการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรักษาความมั่นคงของราชบัลลังก์ ดังภารกิจของทหารประจำการที่เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมให้มีความซื่อสัตย์กตัญญูต่อพระเจ้าแผ่นดิน เพราะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองให้บรรดาทหารได้รับความร่มเย็นเป็นสุข เป็นผู้พระราชทานเงินเดือน และเบี้ยเลี้ยง เครื่องใช้สอยให้ทหาร ดังนั้นหน้าที่ของทหารจึงต้องพร้อมที่จะพลีชีพจนเลือดหยดสุดท้ายเพื่อเป็นประโยชน์และเกียรติยศแห่งสิ่งที่รักและนับถืออยู่เสมอทุกเมื่อ

ขณะที่กองทัพของสยามไม่ต้องทำหน้าที่ป้องกันประเทศจากศัตรูภายนอกอย่างจริงจัง นอกจากรบกับ ศัตรูภายในหน้าที่หลักของกองทัพในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงได้แก่ การรักษาความมั่นคงภายในของกษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงความทันสมัยอวดโลกภายนอก หรือเป็น ทหารพระราชานั่นเอง

อย่างไรก็ดี ในเวลาไม่นานเชื้อมูลแห่งการเปลี่ยนแปลงก็บ่มเพาะขึ้นในกองทัพเสียเอง นั่นคือ นายทหารคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ก้าวสู่ภาวะ ศรีวิลัยซึ่ง ราษฎรได้รับความอิสรภาพเสมอหน้ากัน ไม่มีใครที่จะมาเป็นเจ้าสำหรับกดคอกันเล่นแม้ว่าจะล้มเหลว แต่อีก 20 ปีต่อมานาย

ทหารกลุ่มหนึ่งได้เข้าร่วมกับคณะราษฎรกระทำการยึดอำนาจจากกษัตริย์ และประกาศกลางพระนครว่าราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง

ช่วงเวลา 15 ปีหลังการปฏิวัติสยาม 2475 ทหารได้เป็น ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญปกป้องระบอบใหม่ของคณะราษฎรจากการโต้กลับของคณะเจ้า แต่ภารกิจดังกล่าวก็สิ้นสุดลงพร้อมกับการเมืองยุคคณะราษฎร เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2490 ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่าง (เครือข่าย)สถาบันกษัตริย์กับทหารอีกกลุ่มหนึ่งฉีกรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

2 วันหลังรัฐประหาร หนังสือพิมพ์ เอกราช ได้พาดหัวข่าวว่า ในหลวงรู้ปฏิวัติ 2 เดือนแล้วโดยพล.ท. กาจ กาจสงคราม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เขาส่งโทรเลขลับรายงานแผนการไปยังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ล่วงหน้า 2 เดือนก่อนรัฐประหาร

การรัฐประหาร 2490 นำไปสู่การฟื้นฟูอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์ขณะเดียวกันก็เปิดทางให้ผู้นำกองทัพกลายเป็น ขุนศึกซึ่งสามารถขึ้นมาเป็นผู้ปกครองและตัวแสดงที่มีฐานอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นของตนเองในเวลาต่อมา

ถึงยุคสงครามเย็น คอมมิวนิสต์กลายเป็นศัตรูหลักที่คุกคามความมั่นคงของชาติ ด้วยการสนับสนุนจากมหามิตรอเมริกัน อำนาจและบทบาททางการเมืองของทหารขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ พร้อมๆ กับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันกษัตริย์ในฐานะหุ้นส่วนและแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมของกองทัพ

ในระหว่างการทำสงครามต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ กองทัพและสถาบันกษัตริย์ยังได้ขยายบทบาทไปทำงาน พัฒนาในฐานะเป็นยุทธวิธีสู้กับภัยคุกคามในชนบท และภายหลังได้หันมาใช้ ประชาธิปไตยเป็นยุทธวิธีในการสู้กับคอมมิวนิสต์ อันเป็นที่มาของนโยบาย 66/2523

หลังสงครามเย็นยุติลง ดูเหมือนภารกิจของกองทัพจะไม่มีความชัดเจน ขณะที่บทบาทและอำนาจทางการเมืองของตนก็ถูกลดทอนลงตามลำดับ แม้ผู้นำทหารจะก่อการรัฐประหารอีกในปี 2534 แต่ก็ต้องล่าถอยไปอย่างรวดเร็วเพื่อเปิดทางให้แก่กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย

แต่แล้ว เมื่อการเมืองในระบบการเลือกตั้งเข้มแข็งขึ้นจนท้าทายเครือข่ายอำนาจเก่าที่รวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ กองทัพจึงหวนคืนสู่เวทีการเมืองเต็มตัวอีกครั้งในฐานะ ทหารของพระราชากระทั่งก่อการรัฐประหารในปี 2549 เพื่อรักษา ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจนนำมาสู่ความขัดแย้งในสังคมไทยที่ยืดเยื้อและลงลึกถึงราก

ปัจจุบันแม้กองทัพจะได้มีบทบาทมากขึ้น แต่ก็ถูกท้าทายมากขึ้น รวมถึงสถาบันกษัตริย์ที่เป็นแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมของกองทัพก็ถูกตั้งคำถามด้วยเช่นกัน

ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมใหม่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเรียกร้องให้จัดวางบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ของกองทัพเสียใหม่ด้วย โดยเฉพาะโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับ (รัฐบาล) พลเรือน ดูเหมือนว่ากองทัพไทยจะยังคงยึดมั่นกับบทบาทการเป็น ทหารพระราชาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

ขณะที่สำนึกประชาธิปไตย สำนึกความเป็นพลเมืองของประชาชนขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนลงลึกถึงระดับรากหญ้าในขณะนี้ แต่กองทัพไทยที่เริ่มต้นจากการเป็น ทหารพระราชาจะยินดีที่จะเป็น ทหารพระราชาอยู่เช่นเดิม

สิ่งที่น่าตระหนักคือไม่เพียงแต่สำนึกทางการเมืองของกองทัพกลับย้อนไปสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์พอใจอยู่กับการเป็น ทหารของพระราชาเท่านั้น แต่สถาบันกษัตริย์ในฐานะแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมก็อาจจะพอใจที่จะให้กองทัพดำรงสถานะเช่นนี้ตลอดไป ราวกับว่า 80 ปีของปฏิวัติสยาม ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย

อ่านต่อ >>