ฟ้าเดียวกัน 10/1 : โลกราชาธิปไตย

ลดราคา!

฿180.00


รหัสสินค้า: 9786167667003 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

โลกราชาธิปไตย

จดหมายถึงกองบ.ก.

หาเรื่องมาเล่า

ดันแคน แมคคาร์โก : มองการเมืองไทยจากมุมมองแบบหลังอาณานิคม

ดาริน อินทร์เหมือน

คำขบวน

Squats/Squatting การยึดครองที่ดิน/อาคารสถานที่

ภัควดี วีระภาสพงษ์

มหาชนทัศนะ

องค์กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้คืออะไร?

ปิยบุตร แสงกนกกุล

รายงานพิเศษ

จักรพรรดิกับการเมืองญี่ปุ่น

ดาริน อินทร์เหมือน

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

เครือข่าย (เศรษฐกิจ) สถาบันกษัตริย์ : บทวิเคราะห์จาก พคท.

ธนาพล อิ๋วสกุล

บทวิเคราะห์ : ธาตุแท้จอมศักดินาใหญ่ (หรือการทำมาหากินของกษัตริย์)

ทัศนะวิพากษ์

ราชาธิปไตยสมัยใหม่ในมุมมองเปรียบเทียบระดับโลก

เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน เขียน เกษียร เตชะพีระ แปลและเรียบเรียง

The Lost World โลกหลงสำรวจราชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่

เรณู ปัญญาดี

ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดผืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง

ธงชัย วินิจจะกูล

[ภาคผนวก] Hyper-royalism: Its Spells and Its Magic เวทย์มนตร์และความศักดิ์สิทธิ์ (หรือ คาถาและมายากล)

ธงชัย วินิจจะกูล

ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยว่าด้วยการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475

พุฒธิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ปิดฟ้าด้วยคำพิพากษา กับข้อหาหมิ่นที่ใครๆ เขาคุยกันหมดแล้ว

ธนาพล อิ๋วสกุล

ระบบความคิดเชิงคำสั่งในวาทกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

สามชาย ศรีสันต์

อ่านต่อ >>

โลกราชาธิปไตย

เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน ได้ชี้ชวนให้เราลองสำรวจ ราชาธิปไตยสมัยใหม่ในมุมมองเปรียบเทียบระดับโลกโดยดูจากความเปลี่ยนแปลงในช่วง 1 ศตวรรษที่ผ่านมา จากยุคสมัยที่พื้นที่และผู้คนส่วนใหญ่ถูกปกครองโดยจักรพรรดิและกษัตริย์ ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ต่อด้วยสงครามเย็นมาสู่ยุคสมัยปัจจุบันที่ประเทศราชาธิปไตยได้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยของโลกใบนี้ ซึ่งมีลักษณะทั้งที่เป็นคุณและท้าทายต่อระบอบราชาธิปไตย

จากข้อมูลทางสถิติของขนาดพื้นที่ภูมิศาสตร์และจำนวนประชากรที่แอนเดอร์สันนำมาแสดงนั้น ชี้ให้เห็นด้วยว่า ราชาธิปไตยของไทยจัดอยู่อันดับต้น ๆ ของบรรดาประเทศชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ในแง่หนึ่งทำให้ราชาธิปไตยในประเทศไทยค่อนข้างเป็นเรื่องน่าสนใจ

คำถามชวนคิดต่อก็คือว่า แล้วราชาธิปไตยไทยมองตัวเองและโลกอย่างไร อะไรคือวิธีเข้าใจโลกราชาธิปไตยของพวกเขา และอะไรคือทิศทางที่โลกราชาธิปไตยไทยกำลังจะเคลื่อนไป

เมื่อ 80 ปีที่แล้ว คณะราษฎรได้ประกาศไว้ตอนหนึ่งว่า

“…คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการ

ปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น…”

วันรุ่งขึ้น พระปกเกล้ากลับสู่พระนคร เสมือนหนึ่งยอมรับที่จะอยู่ร่วมกับ สยามใหม่ซึ่งกษัตริย์มีฐานะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นเจ้าชีวิตเจ้าแผ่นดินอีกต่อไป

ความพยายามที่จะ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎรของฝ่ายนิยมเจ้าได้ดำเนินการเรื่อยมา กระทั่ง บรรลุเป้าหมายขั้นต้นในการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และสามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ดำรงอยู่คู่กับสถาบันกษัตริย์แบบใหม่ได้อย่างมั่นคงนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา

ระบอบการเมืองกลายพันธุ์ที่หันเหไปจากเจตนารมณ์ของปฏิวัติ 2475 มิได้สถิตหยุดนิ่ง หากก็ปรับเปลี่ยนจนเถลิงอำนาจโดยมีสถาบันกษัตริย์อยู่ เหนือการเมือง” (ในความหมายว่าอยู่ชั้นบนสุดของปิรามิดการเมืองไทย) อย่างที่มิอาจจะจินตนาการถึงได้ในยุคสยามเก่า

ด้านหนึ่ง นั่นดูจะเป็นความสำเร็จอันน่าประทับใจยิ่ง ตามความฝันของ ชาวน้ำเงินแท้ที่ต้องการฟื้นอำนาจของฝ่ายเจ้าให้อยู่เหนือประชาธิปไตยแบบรัฐสภา,

แต่อีกด้านหนึ่ง ความสำเร็จข้างต้นกลับส่งผลให้สถาบันและเครือข่ายที่เสวยอำนาจจากระบอบนี้อย่างฝังรากลึก ยึดมั่นไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดความตึงเครียดอันปะทุออกเป็นวิกฤติการเมืองตั้งแต่สมัยรัฐบาลไทยรักไทย จนเกิดการเคลื่อนไหวถวายคืนพระราชอำนาจ, สู้เพื่อในหลวง, ตุลาการภิวัตน์, รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, สงกรานต์เลือดปี 2552, การล้อมปราบกลางเมืองปี 2553 และจนเกิดปรากฏการณ์ ตาสว่างในวงกว้างเช่นปัจจุบัน

เรากำลังเป็นประจักษ์พยานต่อวิกฤติการณ์อันเกิดจากความพยายามฉุดรั้งความเปลี่ยนแปลง ทั้งในบริบทสังคมไทยและในบริบทสังคมโลก

เป็นความพยายามของโลกราชาธิปไตยที่ฉุดรั้งความเปลี่ยนแปลงของสังคมขั้นรากฐาน ซึ่งพลังทางการเมืองใหม่ ๆ กำลังต้องการออกจากอุ้งเท้าของอำมาตย์และใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วลุกขึ้นยืนตัวตรง

เราคิดว่าผู้คนรายรอบสถาบันกษัตริย์จำนวนหนึ่งก็รับรู้ถึงการดำรงอยู่อย่างฝืนธรรมชาติของราชาธิปไตยไทยเช่นทุกวันนี้ แต่การเป็นเครือข่ายของสถาบันกษัตริย์ (Network Monarchy) ที่มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงเพียงลำพังเป็นไปไม่ได้ (แม้จะแลเห็นวิกฤติและต้องการปรับตัว)

อาจจะเป็นความโชคดีของสถาบันกษัตริย์ไทยที่ 80 ปีที่แล้วยังไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจอื่นอย่างแน่นแฟ้นนอกจากคนใกล้ชิด ทำให้การปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงทำได้ด้วยการตัดสินใจของ กษัตริย์และกลุ่มเครือญาติเพียงลำพัง

ภายใต้เครือข่ายผลประโยชน์ที่แน่นหนาเช่นปัจจุบัน ประวัติศาสตร์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่า สถาบันกษัตริย์ไทยอาจจะปรับตัวเพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ และจะผ่านไปได้อย่างไร

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความพยายามฝืนความเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่นำไปสู่โศกนาฏกรรม ดังเช่นที่เกิดในที่อื่นๆ แต่มนุษย์ก็มักโหดร้ายและขลาดเขลาอยู่บ่อยครั้ง ดังที่ธงชัย วินิจจะกูล ได้กล่าวในบทความ ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริงว่า

มนุษย์ปกติมักสายตาสั้น มองโลกแคบ ยิ่งสังคมที่ขาดวุฒิภาวะทางปัญญายิ่งขลาดเขลาเกินกว่าจะมองเห็นความเป็นอนิจจังของสังคม กลัวการเปลี่ยนแปลง หลงยึดมั่นถือมั่นกับเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเชื่อว่าไม่มีทางเปลี่ยนแปลง จนไม่สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเขา อคติ อวิชชาทำให้เขาคับแคบ ลุ่มหลงตัวเองว่าพิเศษกว่าใครอื่นจนสามารถหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงไว้ได้

อ่านต่อ >>