ฟ้าเดียวกัน 11/2 : หลัง พคท.-หลัง ภปร.

ลดราคา!

฿225.00


สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: 9786167667263 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

หลัง พคท. – หลัง ภปร.

หมู่บ้านโลก

กองทุนหมู่บ้านในชนบท การทดลองทำและ การปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจชุมชน

เนตรดาว เถาถวิล

ทุนนิยม

กำเนิดภูมิศาสตร์แรงงาน และอิทธิพลของนักภูมิศาสตร์สายแรดิคัล

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร

ขอบฟ้าความคิด

ข้อเสนอว่าด้วยต้นแบบความคิดคอมมิวนิสม์ของ Alain Badiou

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

รายงานพิเศษ

สถาบันกษัตริย์ในรัชกาลที่ 10

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

บทความปริทัศน์

กลางใจราษฎร์ : คู่มือสถาบันกษัตริย์ก่อนเปลี่ยนผ่านรัชสมัย

ปราการ กลิ่นฟุ้ง

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

เอกสารการประชุมผู้ปฏิบัติงานในเมืองพรรคคอมมิวนิสต์ไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

รายงานการประชุมปัญหาในบริษัท และท่าทีของเรา

ทัศนะวิพากษ์

กษัตริย์ศึกษาในรัฐไทย : รัฐไทยกับการศึกษาสถาบันกษัตริย์

ศึกษาฝ่ายกษัตริย์นิยมจากสิ่งพิมพ์

ญัฐพล ใจจริง

ปัญหาเรื่องการศึกษาสถาบันกษัตริย์

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

กษัตริย์ศึกษาในแวดวงกฎหมาย

ปิยบุตร แสงกนกกุล

กษัตริย์ศึกษาในแนวทางสถาบันพระปกเกล้า

สติธร ธนานิธิโชติ

เนื้อแท้ของรัฐธรรมนูญฉบับหมกเม็ด

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

การรื้อฟื้นและการก่อร่างสร้างตัวของความเป็นคนเดือนตุลาฯ: จาก นักศึกษาฝ่ายซ้ายผู้พ่ายแพ้สู่ คนเดือนตุลาฯ – นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แห่งทศวรรษ 2510

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

การผงาดขึ้นและตกต่ำลงของกระแสความคิด ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในการเมืองไทย ยุค หลัง พคท.

ธิกานต์ ศรีนารา

อ่านต่อ >>

หลัง พคท. – หลัง ภปร.

ภายหลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างนายทหารที่สูญเสียอำนาจไปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฝ่ายนิยมเจ้าที่พยายามโต้การปฏิวัติ 2475 และรื้อฟื้นความชอบธรรมกับอำนาจของกลุ่มตนภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในห้วงเวลาดังกล่าวพลังและอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ขั้ว 2 แนวทางได้ปรากฏและเติบโตขึ้นในสังคมไทย

ขั้วหนึ่ง ฝ่ายนิยมเจ้าได้สถาปนาอุดมการณ์กษัตริย์นิยมและประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปัจจุบัน พร้อมกับเริ่มถวายคืนพระราชอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 และ 2492 กระทั่งขาดการยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน อาทิเช่น กำหนดให้มีองคมนตรีโดยการแต่งตั้งถือเป็นอำนาจ ส่วนพระองค์อย่างเด็ดขาด ถวายคืนพระราชทรัพย์ผ่านการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 รวมทั้งในทางวัฒนธรรมก็เริ่มมีการรื้อฟื้นพระราชพิธีต่างๆ ที่เคยถูกยกเลิกไปภายหลังการปฏิวัติสยาม 2475 ให้กลับคืนมาใหม่ กระแสนี้ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร ผนวกกับยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจอเมริกาในยุคสงครามเย็น กระทั่งจอมพล ป. พิบูลสงครามถูกกำจัดออกไปและเปิดเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ในเวลาเดียวกันนั้น อีกขั้วหนึ่ง ทางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ก็เริ่มผลิตกรอบการวิเคราะห์สังคมไทยแบบ ถึงเมืองขึ้น-กิ่งศักดินาเพื่อชี้ทิศนำทาง การเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งจะกลายเป็นกระบวนทัศน์ที่ครอบงำปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้าไทยต่อมาอีกยาวนาน

เมื่อถึงทศวรรษ 2510 ขณะที่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของสถาบันกษัตริย์ ในแง่บทบาทการยุติสถานการณ์ การแต่งตั้งนายกฯ พระราชทาน และฐานะใหม่ที่อยู่บนฐานราชาชาตินิยมประชาธิปไตย การพังทลายลงอย่างฉับพลันของรัฐบาลทหารก็เปิดประตูไปสู่เสรีภาพและการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งความคิดแบบ พคท. จะสามารถเข้ามามีบทบาทนำในเวลาอันรวดเร็ว แล้วยิ่งพุ่งขึ้นสู่กระแสสูงหลังเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบและรัฐประหารเลือด 6 ตุลาคม 2519 ต่อด้วยการขึ้นมาของรัฐบาลขวาจัดของธานินทร์กรัยวิเชียร ดังเห็นได้จากความฮึกเหิมของพลพรรคปฏิวัติที่มั่นใจว่าจะกลับมา ปักธงแดงกลางพระนครในไม่ช้า

ทว่าจากนั้น ภายในเวลาไม่เกินครึ่งทศวรรษ ความฝันที่จะเห็นฟ้าสีทองผ่องอำไพก็กลับพังทลายลงสิ้นเมื่อในระดับสากลเกิดความขัดแย้งภายในค่ายสังคมนิยมเอง ในระดับประเทศ ขบวนการของ พคท. และความคิดขึ้นของพรรคถูกวิพากษ์และท้าทายจนต้องยุติบทบาทไปในที่สุด นักปฏิวัติแห่งกองทัพปลดแอกแห่งประเทศไทยกลายเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ทฤษฎีกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินากลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาช่วงหนึ่ง นักศึกษาปัญญาชนแยกย้ายกันลงจากป่าเขาเพื่อค้นหาความคิดและตัวตนใหม่อย่างกระจัดกระจาย กระทั่งเข้าสู่ยุคที่เรียกได้ว่า หลัง พคท.นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520

เมื่อหมดสิ้นซึ่งพลังและอุดมการณ์ที่ท้าทาย พร้อม ๆ กับที่สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมเติบโตอย่างก้าวกระโดด สนามรบในยุคสงครามเย็นกลายเป็นสนามการค้า ทหาร-ขุนศึกค่อยๆถูกกีดกันออกจากการเมืองและหมดพลังอย่างสิ้นเชิงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ซึ่งประมุขของชาติเข้ามาแสดงบทบาทโดดเด่น อุดมการณ์กษัตริย์นิยมและฐานะของสถาบันกษัตริย์ก็เบ่งบานไปสู่คุณภาพใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เหนือการเมืองในระบบรัฐสภาที่เติบโตขึ้นหลังยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ กลายเป็นศูนย์กลางของสังคมและศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยอย่างที่มิเคยปรากฏมาก่อนไม่ว่าในรัชสมัยใด

อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งและระบบรัฐสภาก็ค่อยๆ ปักหลักมั่นคงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหลังมีรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มุ่งสร้างภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่เข้มแข็ง กระทั่งภาวะขั้วอำนาจเดี่ยวภายใต้พระบรมโพธิสมภารถูกท้าทายในยุคปลายรัชกาล นำไปสู่การก่อรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กระนั้นก็ตาม ความตึงเครียดในระบบการเมืองกลับยิ่งเขม็งเกลียวขึ้น และผนวกดึงเอามวลชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้อุดมการณ์ กระแสความคิด และสถาบันการเมืองที่เคยมีฐานะครอบงำในช่วงราว 3 ทศวรรษที่ผ่านมาถูกตั้งคำถามและรื้อถอนอย่างยากที่จะจินตนาการถึงได้ในยุคก่อนรัฐประหาร 19 กันยา

ภาวการณ์เช่นนี้จะดำเนินไปสู่อะไร? คงไม่มีใครให้คำตอบได้ชัดเจนแม่นยำ แต่สิ่งที่แน่นอนคือ เราไม่อาจจะย้อนกลับไปสู่สภาวะก่อน 19 กันยาได้อีกแล้ว หรือเรากำลังจะเป็นประจักษ์พยานแห่งยุค หลัง พคท.-หลัง ภปร.ในท้ายที่สุด ?

อ่านต่อ >>