Sale 50%

เรณู ปัญญาดี เล่ม 2 ครึ่งหนึ่งของความ (ไม่อยาก) รู้

ปกแข็ง 188.00 บาทปกอ่อน 150.00 บาท

รหัส: ไม่ระบุ หมวดหมู่:

ข้อมูลทั่วไป

หน้าปก

ปกแข็ง, ปกอ่อน

ผู้เขียน

เรณู ปัญญาดี

จำนวนหน้า

324

ปีที่พิมพ์

2555

ISBN ปกอ่อน

9786167667041

ISBN ปกแข็ง

9786167667034

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน
คำนำ กาลานุกรมการเมืองไทยฉบับเรณู ปัญญาดี โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ศักยภาพของการ์ตูนช่อง : บทสัมภาษณ์เรณู ปัญญาดี
ครึ่งแรกของความรู้ 2546 – 2548
ชำระรายวัน
ครึ่งหลังของความรู้ 2554 – 2555

คำนำสำนักพิมพ์

เรณู ปัญญาดี เริ่มส่งการ์ตูนขนาดสั้นจบในตอน ตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องใน มติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่ปี 2542 และเขียนการ์ตูนขนาดยาวลงในวารสาร อ่าน และ มติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่ปี 2548 นับจากปี 2542-2555 เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผู้อ่านได้รับรู้ความเป็นมาและเป็นไป ตลอดจนพัฒนาการของครอบครัวระการาณี ซึ่งเปรียบเสมือนภาพตัวแทนครอบครัวชนชั้นกลางไทยในเมืองใหญ่

ในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของสังคมไทยซึ่งกำลังจะมาถึงในไม่ช้า สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเล็งเห็นว่า การรวบรวม และตีพิมพ์การ์ตูน เรณู ปัญญาดี ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมาเป็นชุด โดยแบ่งเป็น 3 เล่ม น่าจะมีความหมายต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยลักษณะเฉพาะของการ์ตูน เรณู ปัญญาดีเอง 3 ประการ

ประการแรก แม้ เรณู ปัญญาดี จะดูเหมือนเป็นแค่การ์ตูนขนาดสั้นที่จบในตอน แทรกอยู่ในหน้านิตยสาร มติชนรายสัปดาห์ ทว่าสถานะของมันย่อมมิใช่แค่ของแถมอย่างที่บ่อยครั้งการ์ตูนการเมืองมักถูกให้ค่าตีราคาเช่นนั้นในสื่อของประเทศกำลังพัฒนายิ่งในยุคที่พายุใหญ่ทางการเมืองโหมใกล้เข้ามาอยู่รอมร่อ แต่ยังไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้าใด จากเสียงฟ้าลั่นคำรามมาแต่ไกลของวรรณกรรมไทย จะมีก็แต่เสียงตะโกนโหวกเหวกของ ..ระกา และ .. ราณี มิใช่หรือที่ดังจนแสบแก้วหู หากอ่านการ์ตูน เรณู ปัญญาดี รวดเดียวจบตั้งแต่เล่ม 1 เล่ม 2 และเล่ม 3 ผู้อ่านอาจเกิดอาการขนหัวลุกด้วยรู้ชัดแล้วว่าในระยะเวลาอันใกล้ ฟ้ากำลังจะถล่มและแผ่นดินจะสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างน่าแสยงสยองได้ขนาดไหน

ประการที่สอง ในแง่มิติเวลา การ์ตูน เรณู ปัญญาดีวางตัวเอง สัมพันธ์อยู่กับบริบททางการเมืองปี 2542-2555 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคทักษิโณมิกส์ ก่อนเกิดรัฐประหาร 19 กันยา 2549 จน เข้าสู่ยุคอำมาตยาธิปไตย (หรือเรียกให้หรูหราว่ายุคประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) อีกทั้งบ่อยครั้งหรือเกือบจะตลอดเวลา ที่ผู้อ่านจะสังเกตได้ถึงการที่เรณู ปัญญาดี เชื่อมโยง เรื่องราวกลับไปในช่วงปี 2516-2519 หรือไม่ก็ช่วง 2475 ผ่านความทรงจำของพ่อ ดังนี้แล้ว สำหรับผู้อ่านที่เป็นแฟนประจำ เรณู ปัญญาดีอยู่แล้ว การย้อนกลับไปอ่านการ์ตูน เรณู ปัญญาดีตั้งแต่แรกใหม่ จึงเปรียบได้กับการ revisit หรือการกลับไปพินิจพิจารณาทั้งครอบครัวระการาณีและสังคมไทยในช่วงเวลาต่าง ใหม่อีกครั้ง ซึ่งรับประกันว่าจะได้อรรถรสอีกแบบ และจะทำให้เห็นแง่มุมที่แตกต่างจากที่เคยอ่านมาแล้วในเวลา real time หากใครยังเชื่ออยู่อีกว่าสิ่งดี กำลังจะมาเส้นเวลาของระการาณีอาจบอกอะไรที่ตรงกันข้าม

ประการที่สาม ในขณะที่โดยเนื้อหา เรณู ปัญญาดีได้วิพากษ์วิจารณ์แทบจะทุกอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย ไม่ว่าอนุรักษนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม ชาตินิยม ฟาสซิสม์ นิเวศนิยม โดยเนื้อแท้เป็นการเชิดชูคุณค่าการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นหัวใจของสังคมเสรีประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น ในห้วงเวลาที่กระทรวงไอซีที ไม่ว่าโดยรัฐบาลอนุรักษนิยมหรือรัฐบาลที่พรางตัวอยู่ในคราบเสรีนิยม ยังคงเดินหน้าโครงการลูกเสือไซเบอร์ อบรมเยาวชนให้มีสำนึกเกลียดชังและจับผิดผู้ที่คิดเห็นต่าง ในห้วงเวลาที่ แบบเรียนไทยยังคงล้าสมัยไปไกลโพ้นอย่างยากจะชำระให้ทันท่วงทีกับการเปลี่ยนแปลง การ์ตูน เรณู ปัญญาดี อาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ จะปลูกฝังวัฒนธรรมการตั้งคำถาม กระตุ้นความอยากรู้ หรือกระทั่งให้ความรู้ (ที่ไม่สำเร็จรูป) กับทั้งผู้ใหญ่และเด็กคนชั้นกลางในเมือง (ผู้ไม่อยากรู้อะไร/ผู้รู้ดีว่าตัวเองไม่อยากรู้อะไร) ซึ่งจะว่าไปก็น่าจะเป็นคู่สนทนาเดียวและถือได้ว่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่สุดของครอบครัวระการาณี ส่วนเคาะประตูแล้วพวกเขาจะเปิดรับหรือไม่ ก็เป็นเรื่องยากเกินคาดเดา

การจัดเรียงและจัดหมวดหมู่ในการ์ตูน เรณู ปัญญาดี ทั้งสามเล่มนี้ โดยหลักได้จัดเรียงตามช่วงปีที่แต่ละตอนได้รับการตีพิมพ์ อีกทั้งเรียงใหม่ตามความจงใจของผู้เขียนเรณู ปัญญาดี เอง

เล่ม 1 แบบเรียน (กิ่ง) สำเร็จรูป (2542-2546) เป็นเรื่องของครอบครัวชนชั้นกลางป่วง ซึ่งประกอบไปด้วยพ่อแม่ Stereotype, ระการาณี ลูกชายลูกสาวตัวแสบ และหางดาหมาเนิร์ดที่หมกมุ่นอยู่กับโลกไซเบอร์สเปซ เรื่องราวส่วนใหญ่ วนเวียนอยู่ในปริมณฑลของครอบครัวและโรงเรียน ท่ามกลางสถานการณ์ที่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับภาวะสมัยใหม่ โลกาภิวัตน์ สังคมไอที การแปรรูปเป็นเอกชน และอาการวิตกจริตว่าจะแข่งกับชาติอื่นในเวทีเศรษฐกิจโลกไม่ได้ ขณะที่ระบบการศึกษาภายในประเทศก็ล้าหลังสุด

เล่ม 2 ครึ่งหนึ่งของความ (ไม่อยาก) รู้ (2546-2555) แบ่ง เป็น 3 ส่วน ส่วนแรกครึ่งแรกของความรู้” (2546-2549), ส่วนที่สองชำระรายวัน” (2549-2550), และส่วนที่สามครึ่งหลังของความรู้” (2554-2555) ในเล่มนี้ ครอบครัวป่วง ของระการาณี ต้องเผชิญกับความฉิบหายวายป่วงเข้าไปอีก เมื่อแขกที่ไม่ได้รับเชิญของคณะรัฐประหาร ตัวละครหน้าเก่าที่อวตารแปลงร่างมาในเสื้อคลุมแบบใหม่ ปลุกให้ความทรงจำของคนรุ่นพ่อต่อเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ย้อนกลับมาทับซ้อนกับปรากฏการณ์ความรุนแรงที่ฝ่ายอนุรักษนิยม/รอยัลลิสต์กระทำต่อกลุ่มที่ต้องการปฏิรูปสถาบันฯ แก่นแกนของเล่มนี้จึงดูเหมือนอยู่ที่การต่อสู้กันของความรู้และความไม่อยากรู้อย่างที่ตัวการ์ตูนพูดในตอนหนึ่งว่าครึ่งหนึ่งของความรู้คือรู้ว่าเราจะหาความรู้ได้ที่ไหน” (ฝ่ายเสื้อแดงที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงและฝ่ายปัญญาชนก้าวหน้าที่เสนอการแก้ไขมาตรา 112) และอีกครึ่งหนึ่งของความรู้คือ รู้ว่าเราไม่อยากรู้อะไร” (ฝ่ายอนุรักษนิยม และรอยัลลิสต์ซึ่งต้องการดำรง status quo ของตนเอง และปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการทุกรูปแบบ) ในขณะที่สื่อกระแสหลัก น่าจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของความไม่รู้” (ignorance) อย่างจงใจ เพราะถึงที่สุดแล้ว ได้เลือกที่จะจำกัดตัวเองอยู่ที่การเป็นกระดาษชำระรายวันซึ่งไม่ผลิตสร้างองค์ความรู้ใด ให้แก่สังคม

เล่ม 3 ท่องโลกพลังลบ เที่ยวภพพลังบวก (2548-2553) ในเล่มนี้ ระการาณี สองพี่น้องสุดแสบพากันออกจากบ้าน (ก็แล้วใครจะทนนิ่งเฉยอยู่ไหว!) ทั้งสองเริ่มท่องเที่ยวไปในสามภพ แสวงหาความรู้ทางวิชาการอย่างจริงจังเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ที่เกิดขึ้น ออกไปสู่ท้องถนน ไปสังเกต จับผิด ถอดรหัส การอ้างเหตุผลที่แสนจะ absurd ของพวกอีลีตม็อบ ศึกษาความย้อนแย้งของวาทกรรมการเมืองอย่างเป็นระบบ วิพากษ์กระทั่งด่ากราดภาวะเสแสร้งแกล้งเอาศีลธรรมมาบังหน้าของเหล่าตัวแสดงทางการเมือง ทั้งกูรูสันติภาพ ราษฎรอาวุโส สื่อผู้ทรงศีล ศิลปินจอมปลอม ฯลฯ อย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม สุดท้ายจบการเดินทางด้วยการดิ่งลึกไปในนรกเพื่อสำรวจหัวจิตหัวใจของเหล่าชนชั้นกลาง ที่ซึ่งความกลัวและกระบวนการจัดการกับความกลัวด้วยสิ่งที่เรียกว่าวิธีคิดเชิงบวกกำลังรีบเร่งทำงานกันอย่างแข็งขัน หลังการล้อมปราบผู้ชุมนุมในช่วงเมษาพฤษภา 53 อย่างอำมหิต

สิบกว่าปีผ่านไป ภาพการ์ตูน .. ระกา กับ .. ราณี ที่ยังถูกวาดด้วยลายเส้นแบบเดิมๆ ลวงตาผู้อ่านให้หลงคิดว่าทั้งคู่ยังเป็นเพียงเด็กประถมตัวเล็ก ที่ไม่ได้เติบโตขึ้นตามกาลเวลาแต่อย่างใด กระนั้นก็ตาม หากสบตากับเด็กทั้งสองนานพอผู้อ่านอาจเห็นภาพสะท้อนภาวะชราภาพของสังคมไทยอย่างกระจ่างชัด อีกทั้งเห็นภาพอุดมคติที่ยังสดใหม่ อันเป็นภาพ ideal type ของเสรีชนผู้ไม่สยบยอมต่อการครอบงำด้วยวาทกรรมใด

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันคาดหวังว่า การผลิตซ้ำการ์ตูนชุด เรณู ปัญญาดีครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณเสรีชนชนิดนี้ ผู้ซึ่งมั่นคงดำรงสติอยู่ได้ด้วยอารมณ์ขันขึ้นไม่ว่าจะพลัดหลงเข้าไปอยู่ในครอบครัวสาธารณ์ ในระบอบการเมืองวิปริตในนรกดัดจริต หรือในสวรรค์วิมานจอมปลอม แน่นอนว่า เส้นทางสู่ความเป็นอารยะของสังคมไทยยังอีกยาวไกลนัก เรณู ปัญญาดี ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปให้ว่าจุดหมายปลายทางจะอยู่ที่ไหนและจะมีหน้าตาอย่างไร เขาเพียงบอกเป็นนัยว่า คำตอบอาจอยู่ที่เสรีภาพในการตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์นั่นเอง

มีนาคม 2555