คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย

ลดราคา!

฿252.00


รหัสสินค้า: 9789743483080 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

คำปรารภพี่สาว ผู้รักษาต้นฉบับ

คำนำบรรณาธิการ

ความในใจของบรรณาธิการ

คำนำสำนักพิมพ์

เพลงแห่งทาสนิโกร (๒๕๐๐)

ระลึกวันเมย์เดย์ (๒๕๐๐)

ผ่น (๒๕๐๐)

กลอนบ้านนอก (๒๕๐๐)

บทกวีของ เจียง กวางจื้อ และ เทียนเซียน (๒๕๐๐)

อีกด้านหนึ่งของม่านบังตา (๒๕๐๐)

อ่านต่อ >>

เมื่อไปส่งฮั่นโปหัวไปรัสเซีย (๒๕๐๐)

เขมรอมตูก (๒๕๐๐-๒๕๐๑)

สาวน้อยตำข้าว (๒๕๐๑)

นั่นแหละคือวันปีใหม่ของมวลชน (๒๕๐๑)

มารฺชพลอาสาสมัครแมนจูเรีย (๒๕๐๑)

บนเส้นทางอันยิ่งใหญ่ (๒๕๐๑)

มารฺชชาวนาไทย (๒๕๐๒)

มารฺชครูไทย (๒๕๐๓)

วานเธอคอย จนวัน ฉันกลับมา (๒๕๐๓)

หนุ่มน้อยไปไถนา (๒๕๐๔)

ศักดิ์ศรีของแรงงาน (๒๕๐๔)

ความหวังยังไม่สิ้น (๒๕๐๔)

มนต์รักจากเสียงกระดิ่ง (๒๕๐๔)

เดือนเอ่ย…เจ้าลอยล่องฟ้า (๒๕๐๔)

อินเตอร์เนชั่นแนล (๒๕๐๔)

รุ่งอรุณในเซี่ยงไฮ้ (๒๕๐๔)

รำพึงถึง เฉินเส้อ และ หวู กว่าง (๒๕๐๔)

ยุคเลือด (๒๕๐๔)

บทสนทนาระหว่างแม่น้ำหยางจื่อและหวางเหอ (๒๕๐๔)

สหายเอยหวังอย่าท้อ ทลายสลาย (๒๕๐๕)

จันทโครบ (เพลงปี่เก) (๒๕๐๕)

ฟ้าใหม่ (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

มาร์ชลาดยาว (๒๕๐๓ – ๒๕๐๕)

รำวงวันเมย์เดย์ (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

เทอดสิทธิมนุษยชน (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

แสงดาวแห่งศรัทธา (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

ทะเลชีวิต (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

หยดน้ำบนผืนทราย (๒๕๐๓-๒๕๐๕)

อาณาจักรความรัก (๒๕๐๓ – ๒๕๐๕)

เลือดต้องล้างด้วยเลือด (๒๕๐๕)

วีรชนปฏิวัติ (๒๕๐๕)

มวลชน คิวบา มาพลัน (๒๕๐๕)

พระเจ้ากำเนิดข้ามาเสรี (๒๕๐๕)

บ้านของเธอเสาใหญ่ (๒๕๐๖)

เพลงเกี่ยวสาว (๒๕๐๖)

เม่น (๒๕๐๖)

โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานคร ยุคไทยพัฒนา (๒๕๐๗)

โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานคร ยุคไทยพัฒนา ตอน “เศรษฐกิจรัดเข็มขัด” (๒๕๐๗)

คำเตือน…จากเพื่อนเก่า (๒๕๐๗)

วิญญาณหนังสือพิมพ์ (๒๕๐๗)

วิญญาณสยาม (๒๕๐๗)

คาวกลางคืน (๒๕๐๗)

จิ้งเหลนกรุง (๒๕๐๗)

อ้อยในปากช้าง (๒๕๐๗)

เนื้อ นม ไข่ (๒๕๐๘)

เสียง แผ่น ดิน (๒๕๐๘)

อันว่าหอคำห้อง ผาสาทแกมแสง (๒๕๐๘)

เพราะคนซื่อ ถูกเข่นฆ่า ทาระกรรม (๒๕๐๘)

โค่นล้มสังคมเก่าชั่วนิรันดร์ (๒๕๐๘)

เราทรุดลง, เพื่อเป็นการเสียสละอันมีเกียรติ (๒๕๐๘)

เราไถเราหว่าน แล้วดูผลงาน ที่มันเติบโต (๒๕๐๘)

กลิ่นรวงทอง (๒๕๐๘)

จอมใจดวงแก้ว (๒๕๐๘)

มาร์ชกองทัพปลดแอกประชาชนไทย (๒๕๐๘-๒๕๐๙)

ภูพานแห่งการปฏิวัติ (๒๕๐๘-๒๕๐๙)

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ เวลาประมาณบ่าย ๒ ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของตระกูล “ภูมิศักดิ์” เพราะเป็นวันที่สายเลือดสนิทได้กลับมาบ้านเก่า หลังจากที่ห่างหายไป ๑๕ ปี แต่กลับมาเพียงอัฐิที่สหายคนหนึ่งนำกลับมา

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๔ มีการนำอัฐิของผู้ที่จากไปอย่างทระนงเข้าบรรจุสถูป เมื่อเวลาประมาณ ๑๑.๓๐ นาฬิกา มีคนร่วมพิธีไม่กี่คน แน่นอนละ ภิรมย์ ภูมิศักดิ์ พี่สาว, พานซานหลิน, จินตนา กอตระกูล เพื่อนร่วมคุกก็อยู่ในพิธีด้วย น้องรุ่นหลังๆ มี สายสุมาลย์ ไกรฤทธิ์ และ ข้าพเจ้า

ค่อนข้างจะเงียบเหงาและวังเวง พิธีการผ่านไปเรียบร้อย เสมือนกับว่าไม่มีอะไรเคลื่อนไหว ก็จะมีอะไรเกิดขึ้นได้ละกับขบวนการที่ถูกทำให้ลืมที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกับบุคคลที่ไม่อยู่ในกระแสหลักของเมืองไทยเช่นเขา จิตร ภูมิศักดิ์

ข้าพเจ้าพยายามตามฟังเพลงหลายๆ เพลง อย่าง A TREE IN THE MEDOW, BLUE MOON, LAVENDER BLUE, MAGIC IS THE MOONLIGHT, COME BACK TO SORRENTO เพลงเหล่านี้เป็นเพลงที่ จิตร ภูมิศักดิ์ จดหรือมีไว้ในสมุดเพลงของตัวเอง การฟังเพลงก็คือการเรียนรู้และเพื่อบันเทิง จรรโลงใจ เพลงหวานๆ หลายเพลงอย่าง DANNY BOY, TENNESSEE WALTZ, SMOKE GETS IN YOUR EYES หรือ GYPSY MOON ล้วนไพเราะเพราะพริ้งยังเป็นที่ติดอกติดใจจนถึงยุคปัจจุบัน ข้าพเจ้าเองยอมรับว่ายังไม่เคยฟังเพลงSOLO MIO, L’ÂME DER POÉTES, SERENATA หรือ OL’Y MAN RIVER ที่เอ่ยชื่อมาทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นเพลงที่ จิตร ภูมิศักดิ์ มีบันทึกไม่เนื้อก็ทำนองไว้ในสมุดจดเพลงทั้งนั้น

สมัยติดคุกอยู่ลาดยาว ก็มีสมุดบันทึกเพลงเข้าไปอยู่ด้วย มีทั้งเพลง SANTA LUCIA, MENUET ของบีโธเฟ่น, BLUE DANUBE ของ JOHAN STRAUSS, SÉRÉNADE DE SCHUBERT, MEXICO WAY, LA MARSEILLAISE และที่ขาดไม่ได้คือ เขมรเลียบพระนคร (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ศร ศิลปบรรเลง), แขกต่อยหม้อ (มนตรี ตราโมท), โสมส่องแสง (มนตรี ตราโมท) และ ต้นบรเทศ

เริ่มอารัมภบทมาเสียยาวก็เพื่อจะพยายามฉายให้เห็นถึงความสามารถ ความสนใจ ประกอบกับมีใจรักชอบด้านดนตรี จึงอย่าแปลกใจที่หนังสือชุดกวีนิพนธ์ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” ซึ่งเป็นเล่มลำดับ ที่ ๓ ในชุดกวีนิพนธ์ จึงเต็มไปเพลงที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ประพันธ์ขึ้น พลังที่อัดแน่นในหัวใจ และความเชี่ยวชาญในด้านการใช้ภาษา นอกจาก เพลงที่ได้รับแรงดลใจแต่งขึ้นเอง ก็ยังมีคนวานให้เขาช่วยแต่ง ทั้งจากเพื่อนฝูงที่รักใคร่ชอบพอกันจริงๆ และจากผู้ที่มีตำแหน่งหลักในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพลงของพรรคคอมมิวนิสต์ที่โด่งดังไม่ว่าจะเป็น “ภูพานแห่งการปฏิวัติ”หรือ “มาร์ชกองทัพปลดแอกประชาชนไทย” ล้วนแต่เป็นฝีมือของ จิตร ภูมิศักดิ์ ทั้งสิ้น

งานกวีนิพนธ์เล่มคนยังคงยืนเด่นโดยท้าทายเป็นงานเล่มที่ ๓ หรือเล่มสุดท้ายในชุดกวีนิพนธ์ รวบรวมจากงานที่ประพันธ์ขึ้นบางส่วนในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึงวาระปี ๒๕๐๙ อันเป็นปีสุดท้ายของชีวิต และในที่สุดห่างเหินไป ๑๕ ปี จิตรก็ได้แปรสภาพเป็นอัฐิกลับมาบ้านเกิดที่เคยเนาว์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔

ก่อนที่จะกล่าวอะไรต่อไป ขอแจ้งให้ทราบว่า ผู้ที่จะอ่านงานกวีนิพนธ์ของจิตรอย่างได้อรรถรส ควรอ่านมาตั้งแต่เล่มแรกในชื่อ ด้นดั้นดุ่มเดี่ยวคนเดียวแด(ตุลาคม ๒๕๕๐) และเล่ม ๒ ในชื่อ ถึงร้อยดาว พราวพรายกระจายแสง (มีนาคม ๒๕๕๑) ได้อรรถรสแล้วยังได้เกร็ดชีวิตและประวัติศาสตร์อีกพอควร

จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจับเข้าคุกเมื่อตุลาคม ๒๕๐๑ ด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ว่าไปแล้วงานชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นงานที่ประพันธ์ขึ้นในคุก มีไม่กี่ชิ้นที่ประพันธ์ขึ้นหลังจากออกจากคุก และจิตรได้ตัดสินใจเข้าร่วมต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เนื้อหาของบทกวีนิพนธ์หรือบทเพลงของจิตรในย่านระยะเวลานี้ จึงเต็มไปด้วยอุดมการณ์ของการต่อสู้เพื่อที่จะเอาชนะระบอบเผด็จการสมัย สฤษดิ์ธนะรัชต์ และเปิดโปงให้เห็นภัยที่ร้ายแรงของจักรวรรดินิยมอเมริกา เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของอำนาจรัฐ การคอรัปชั่น และ สภาพสังคมที่เลวงไปด้วยข่าวปล้น ความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรม เปิดโปงให้เห็นถึงการแทรกแซงของอเมริกาที่พยายามเป่ากระหม่อมผู้นำไทยให้เดินตามอเมริกา สรุปแล้วคือความชั่วร้ายของระบอบทุนนิยม และลัทธิจักรวรรดินิยมล่าเมืองขึ้น

ขณะที่งานอีกส่วนหนึ่งก็เป็นงานสร้างสรรค์ ปลุกปลอบให้กำลัง ใจมิตรผู้ร่วมอุดมการณ์ งานเพลงที่ปลุกปลอบให้กำลังใจและแฝงไปด้วยความไพเราะอย่างเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” ยังเป็นเพลงที่ให้กำลังใจให้ความหวัง สำหรับผู้ร่วมอุดมการณ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะวลีทองที่ว่า “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” ถึงแม้ว่าจะถูกกระทำอย่างโหดเหี้ยมสาหัสสากรรจ์เพียงไรก็ตาม

งานกวีนิพนธ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทายเล่มนี้ ตลอดจน ๒ ก่อนหน้า คือ ด้นดั้นดุ่มเดี่ยวคนเดียวแดและ ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสงข้าพเจ้าในฐานะบรรณาธิการปรารถนาให้เป็นงานรวบรวมกวีนิพนธ์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่สมบูรณ์ที่สุด น่าจะอ้างได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับงานกวีนิพนธ์ของกวียุคใหม่ที่สำคัญคนหนึ่งของประเทศไทยในยุคปัจจุบันอย่างที่ภาครัฐบาลไม่เคยทำมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าก็จะไม่ตีขลุมว่าได้รวบรวมงานกวีนิพนธ์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หมดแล้วทุกชิ้น คำอธิบายกวีนิพนธ์แต่ละบทอาจจะมีที่พลาดพลั้งได้เช่นกัน ข้าพเจ้ายินดีน้อมรับทุกกรณี ขอให้ท่านผู้รู้ ผู้ศรัทธา ผู้ชอบอ่านและค้นคว้าเยี่ยงหนอนหนังสือทุกท่าน ช่วยกันค้นคว้าสืบค้นให้ละเอียดลออเถิด ติติงมา เพื่อผลงานจะได้สมบูรณ์ที่สุดในโอกาสที่จะตีพิมพ์ครั้งต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

วิชัย นภารัศมี

(บรรณาธิการสำนักพิมพ์)

๑๕ เมษายน ๒๕๕๒

อ่านต่อ >>

คำกล่าวของเคร็ก เจ. เรย์โนลด์ที่ว่า “จิตร ภูมิศักดิ์เป็นผู้กำเนิดสองครั้ง” ดูจะเป็นบทสรุปตำนานชีวิตของจิตรได้อย่างรวบรัดและชัดเจนที่สุด จากปรากฏการณ์ที่จิตรจบชีวิตลงในชายป่าเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ และ “เกิดใหม่” หลังจากนั้น ๗ ปี

หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ชีวิตและผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ถูกรื้อฟื้น และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ผลงานของเขาในนามปากกาต่าง ๆ ถูกนำมาเผยแพร่ไม่หยุดหย่อนพร้อม ๆ กับชื่อจิตร ภูมิศักดิ์กลายเป็นแบบอย่างของปัญญาชนปฏิวัติ ซึ่งทวีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นเมื่อมีการสร้างเรื่องเล่า/ตำนานชุดต่าง ๆ ขึ้นมาหนุนเสริม

จนกระทั่งปัจจุบัน แม้เวลาจะผ่านไปกว่า ๓๐ ปี และบทบาทนักปฏิวัติของเขาจะลดความสำคัญลงไป แต่ผลงานของจิตรยังคงปรากฏและสำแดงคุณค่าโดดเด่น โดยเฉพาะในแวดวงประวัติศาสตร์โบราณคดี และภาษาศาสตร์ ผลงานหลายชิ้น เช่น ความเป็นมาของคำสยาม,ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา, สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา ฯลฯ ได้รับการยกย่องในฐานะงานที่ “ทะลวงกรอบทะลายกรง”บุกเบิกแง่มุมใหม่จากกรอบคิดเดิม

นั่นเป็นเพราะจิตรเป็นผู้มีความรอบรู้แตกฉานในศาสตร์หลายแขนง ทั้งวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลป วรรณคดี ดนตรี ภาษา นิรุกติศาสตร์ ฯลฯ ผลงานของจิตรจึงเป็นการศึกษาค้นคว้าโดยใช้ความรู้หลายสาขาผนวกเข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า“สหวิทยาการ” ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการศึกษาค้นคว้าอย่างนักปราชญ์รุ่นเก่า เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระยาอนุมานราชธน และนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกหลายท่าน ต่างกันแต่เพียงจิตร ภูมิศักดิ์เป็นสามัญชนคนธรรมดา และมีสถานะนักปฏิวัติซึ่งถูกกดขี่คุกคามด้วยอำนาจเผด็จการ ต้องถูกจับกุมคุมขัง ไม่มีโอกาสศึกษาค้นคว้าอย่างเต็มที่ ผลงานส่วนใหญ่ของเขาจึงยังเขียนไม่จบและไม่ได้เผยแพร่ในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่

เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลายความตึงเครียดลง ผลงานของจิตร ก็ถูกนำมาเผยแพร่และพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง แต่ก็เป็นเพียงบางชิ้น ผลงานส่วนใหญ่ยังไม่มีการพิมพ์ใหม่ กลายเป็นหนังสือหายากราคาแพงบนแผงหนังสือเก่าเท่านั้น

เพื่อให้ผลงานทรงคุณค่าของจิตรเผยแพร่ออกสู่สังคมอีกครั้ง สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน จึงได้จัดตั้ง “โครงการสรรพนิพนธ์จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้น เพื่อรวบรวมผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ทั้งที่เคยตีพิมพ์มาแล้วและที่ค้นพบใหม่ออกพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง โดยมุ่งหวังให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด

ด้วยผลงานจำนวนมากของจิตร ทางสำนักพิมพ์ได้จัดแบ่งหมวดหมู่ตามเนื้อหาออกเป็น ๗ หมวดคือ หมวดประวัติศาสตร์,หมวดงานแปล, หมวดนิรุกติศาสตร์, หมวดรวมบทความวิจารณ์สังคม, หมวดรวมบทความวิจารณ์ ศิลปะ, หมวดรวมบทความวิจารณ์วัฒนธรรม, หมวดบันทึกส่วนตัว และได้บรรณาธิกรต้นฉบับใหม่ ตลอดจนจัดทำภาพประกอบ, บรรณานุกรม และดรรชนีเพิ่มเติม (ในกรณีหนังสือวิชาการ) เพื่อให้หนังสือชุดนี้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามรักษาความถูกต้องของเนื้อหาให้ตรงกับต้นฉบับลายมือเขียนของจิตรหรือฉบับพิมพ์ครั้งแรกทั้งเครื่องหมายวรรคตอนและสำนวนภาษาที่จิตรเขียนต่างไปจากปรกติ เช่นคำว่า ทาส ใช้ ษ สะกดแทน สซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางภาษาที่จิตรใช้ และเขียนบทความอธิบายไว้อย่างชัดเจน

นอกจากจิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานแล้ว “โครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์” จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความไว้วางใจจากคุณป้าภิรมย์ ภูมิศักดิ์ ที่อนุญาตให้สำนักพิมพ์เล็ก ๆ เช่นเราได้มีโอกาสผลิตงานของนักคิดที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของสังคมไทย, คุณวิชัย นภารัศมี “เมือง บ่อยาง” บรรณาธิการหนังสือชุด ผู้มีความอุตสาหะ ค้นคว้า รวบรวมผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคำแนะนำอันมีค่าสำหรับกระบวนการบรรณาธิกร,อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการศึกษาผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์, คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ คุณสุพจน์ แจ้งเร็ว แห่งนิตยสารศิลปวัฒนธรรมผู้ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในทุกด้าน, คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี, คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เอื้อเฟื้อภาพประกอบ, คุณประชา สุวีรานนท์ ผู้ออกแบบปกหนังสือชุด รวมทั้งเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ไม่ได้เอ่ยนามทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือจนหนังสือชุดเล่มนี้สำเร็จออกมาได้

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

อ่านต่อ >>