Sale 10%

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ (พิมพ์ครั้งที่ 2)

ปกแข็ง 495.00 บาทปกอ่อน 360.00 บาท

รหัส: ไม่ระบุ หมวดหมู่:

ข้อมูลทั่วไป

ผู้เขียน

ณัฐพล ใจจริง

จำนวนหน้า

416

ปีที่พิมพ์

2564

ISBN ปกอ่อน

9786167667942

ISBN ปกแข็ง

9786167667959

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1

คำนำสำนักพิมพ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2

คำนำผู้เขียน

บทที่ 1 คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ“ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

บทที่ 2 “ความชอบด้วยระบอบ” : วิวาทะว่าด้วย “รัฏฐาธิปัตย์”ในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ (2475-2500)

บทที่ 3 กำเนิดระบอบประชาธิปไตยแบบอำนาจจำกัด : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย (2475-2490)

บทที่ 4 ฝันจริงของนักอุดมคติ “น้ำเงินแท้” :รื้อ 2475 สร้างระบอบกลายพันธุ์

บทที่ 5 อ่านปทานุกรมของสอ เสถบุตร ในฐานะวรรณกรรมการเมือง

บทที่ 6 โหรกับการโต้ปฏิวัติ 2475 : แฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์กับ 76 เทพการเมือง

บทที่ 7 วิวาทะเค้าโครงการเศรษฐกิจกับบันทึกพระบรมราชวินิจฉัย และการเมืองของการผลิต

บทที่ 8 พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี : แผนสงครามจิตวิทยาอเมริกันกับการสร้างสถาบันกษัตริย์ให้เป็น “สัญลักษณ์” แห่งชาติ

ประวัติผู้เขียน

ประวัติการตีพิมพ์

บรรณานุกรม

ดรรชนี

คำนำสำนักพิมพ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2

หนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) ของณัฐพล ใจจริง เป็นหนังสือเล่มแรกในชุด “กษัตริย์ศึกษา” ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2556 หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหมุดหมายในการศึกษาขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม ดังปรากฏว่า หนังสือเล่มสำคัญในระดับนานาชาติของคริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร คือ ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (กรุงเทพฯ : มติชน, 2557)[1] ก็อ้างหนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ เมื่อพูดถึงขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม

นอกจากถูกนำไปอ้างอิงในหนังสือต่างๆ แล้ว ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานับจากหนังสือ ขอฝันใฝ่ฯ ออกสู่บรรณพิภพวิชาการ มีความพยายามโต้แย้งงานศึกษาชิ้นนี้อยู่บ้าง เช่น วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ของปฐมาวดี วิเชียรนิตย์ เรื่อง “การต่อสู้ทางความคิดของ ‘กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน’ ในสังคมการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2500” (2560) ซึ่งต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ (มติชน, 2561) การถกเถียงโต้แย้งกันด้วยงานวิจัยทางวิชาการที่เกิดจากหลักฐานข้อมูลใหม่ หรือตีความหลักฐานเก่าด้วยมุมมองแบบใหม่นั้น นับเป็นเรื่องปกติ พึงกระทำ และยิ่งน่าสรรเสริญหากหักล้างข้อเสนอเดิมได้อย่างหนักแน่น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กลับมีความพยายามทำลายหนังสือ ขอฝันใฝ่ฯ ด้วยข้อกล่าวหาว่า “บิดเบือนประวัติศาสตร์” โดยไชยันต์ ไชยพร เริ่มจุดประเด็นว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อความที่ผู้เขียนจงใจ “กุ” ขึ้นมา จากนั้นสื่อมวลชนฝ่ายขวาและกลุ่มคลั่งเจ้าก็ประโคมข่าวสาดสีใส่ร้ายผู้เขียนต่างๆ นานาเพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของหนังสือเล่มนี้ จนถึงขั้นมีการฟ้องต่อศาลแพ่งให้ดำเนินคดีผู้เขียน บรรณาธิการ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน โดยเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท พร้อมทั้งให้เก็บและทำลายหนังสือเล่มนี้ด้วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือการฟ้องปิดปาก (Strategic Lawsuit Against Public Participation หรือ SLAPP)

ข้อเท็จจริงก็คือ ในหนังสือ ขอฝันใฝ่ฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 (2556) มีข้อความที่เกิดจากการแปลสรรพนามผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเอกสารอ้างอิง โดยผู้เขียนมิได้เจตนาเพียง 1 ประโยค ในหน้า 124 คือ “ผู้สำเร็จราชการฯ ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานการประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ซึ่งผู้เขียนเพิ่งทราบว่าตนเองแปลผิดเมื่อไชยันต์เสนอเรื่องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนในปี 2561 จนนำไปสู่การเซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์ในปี 2562 แม้ว่าผู้เขียนจะยอมรับผิดและแสดงเจตนาว่าต้องการแก้ไขจุดนี้ให้ถูกต้องก็ตาม

ในหนังสือ ขอฝันใฝ่ฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง (2564) นี้ กองบรรณาธิการได้ตัดประโยคดังกล่าวออกไปแล้ว (ดู หน้า 124 เชิงอรรถ 42) และต้องขออภัยผู้อ่านที่ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ได้ อย่างไรก็ตาม การมีหรือไม่มีประโยคนี้อยู่ มิได้ทำให้ข้อเสนอหลักของผู้เขียนในหนังสือเล่มนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด และยิ่งไม่ควรเป็นเหตุให้มีการใช้กฎหมายปิดปากมาห้ามจำหน่ายหนังสือเล่มนี้อย่างเด็ดขาด

นับจากปี 2556 ถึง 2564 สถานการณ์การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สถาบันเก่าแก่ที่เคยเข้มแข็งกลับอ่อนแอลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาล การปรากฏขึ้นของขบวนการเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ชูธงปฏิรูปสถาบันพระมหาษัตริย์เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น นักสังเกตการณ์การเมืองไทยพากันพยายามหาเหตุปัจจัยที่ทำให้ “และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ” ด้วยเหตุที่หนังสือเป็นวัตถุที่เห็นชัด จึงถูกจับตาและชี้เป้าเสมอในสถานการณ์เช่นนี้ ดังที่หนังสือต้องห้ามหลายเล่มในประเทศไทยเคยประสบมาก่อน ขณะที่ “สนิมอันเกิดแต่เนื้อในตน” ซึ่งเห็นได้ไม่ยากนักในเวลานี้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ยากจะยอมรับได้ โดยเฉพาะจากบรรดา “ชาวน้ำเงินแท้/ไม่แท้” ในขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติทศวรรรษนี้ ความเปราะบางอย่างยิ่งของพวกเขากำลังแปรรูปเป็นการใช้อำนาจอย่างตรงๆ ทื่อๆ ผ่านสถาบันสถาปนา ตลอดจนกลไกต่างๆ ของรัฐเพื่อกดปราบการเปลี่ยนแปลงอันยากจะหยุดยั้ง น่าสนใจว่าการกระทำวันนี้ของพวกเขาจะถูกบันทึกและตีความอย่างไรโดยนักประวัติศาสตร์ในอนาคต

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

เมษายน 2564

[1] แปลจาก Chris Baker and Pasuk Phongpaichit, A History of Thailand (Cambridge : Cambridge University Press, 2014).

คำนำสำนักพิมพ์

ท่านสุภาพบุรุษผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าซื่อสัตย์สุจริตและมีเกียรติยศ แต่ท่านได้เอาความยุ่งเหยิงมาสถิตแทนความเป็นระเบียบ เอาความแตกก๊กแตกเหล่ามาแทนความสามัคคี รัฐบาลปัจจุบันนี้อ้างว่าได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะราษฎร และเพื่อราษฎร ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงท่านก็อาจมีอำนาจที่จะบังคับรัฐบาลให้บริหารในทางที่เป็นประโยชน์แก่เราทั้งหลายร่วมกัน และมิใช่เพื่อประโยชน์ของรัฐมนตรีและพวกพ้องของรัฐมนตรีเท่านั้น มิฉะนั้นเราก็ต้องเปลี่ยนรัฐบาลเสียใหม่

คำปราศรัยข้างต้น เป็นถ้อยคำของรุ้งในเช้าวันที่ 11 ตุลาคม 2476 ซึ่งปลุกหัวใจชาวโคราชให้ลุกเป็นไฟกระทั่งพากันไปลงชื่อเข้าร่วมก่อกบฏบวรเดชอันเป็นเหตุให้รุ้งต้องเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นนักโทษการเมือง แดนหก บางขวาง ในเวลาต่อมา

เป็นรุ้งผู้ถ่ายทอดความคิดจิตใจและอัตชีวประวัติของ ...นิมิตรมงคล นวรัตน ผ่านนิยายเรื่อง ความฝันของนักอุดมคติ หรือ เมืองนิมิตร ซึ่งชัยอนันต์ สมุทวณิช ปัญญาชนผู้มีอิทธิพลต่อวงวิชาการรัฐศาสตร์ไทยมานาน กล่าวไว้ว่า คือ หนึ่งในสิ่งดีงาม เพียงสองอย่างที่คณะราษฎรมีส่วนช่วยสร้างขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทั้งนี้ ชัยอนันต์ย้ำอีกครั้งในการปาฐกถาวาระครบรอบ 100 ปี ...นิมิตรมงคล ว่าคณะราษฎรแท้จริงแล้วไม่ใช่ราษฎร ไม่มีความสัมพันธ์กับราษฎร และซ้ำยังเป็นต้นเหตุ ที่ก่อปัญหาการพัฒนาสถาบันทางการเมืองของไทย

นิยายที่เล่าผ่านรุ้งเหตุการณ์กบฏบวรเดชและข้อเสนอทางวิชาการอย่างของชัยอนันต์ ล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการที่ณัฐพล ใจจริงเรียกว่าปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475” อันมีสถาบันกษัตริย์เป็นแกนกลางและแวดล้อมด้วยพระราชวงศ์ชั้นสูง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ องคมนตรี เจ้านักการเมือง นักการเมืองนิยมเจ้า นักกฎหมายสำนักจารีตประเพณี นักหนังสือพิมพ์กษัตริย์นิยม และปัญญาชนรอยัลลิสต์ เป็นต้น

[expander_maker id=”1″ more=”อ่านต่อ >>” less=”<< ย่อหน้า “]

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองของผู้คนสืบเนื่องมาหลายทศวรรษ ทำให้ความเข้าใจต่อปัญหาการเมืองไทยบิดเบี้ยวกลับหัวกลับหางไป ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ถูกทำให้กลายเป็นผู้ร้ายทางประวัติศาสตร์ซึ่งให้กำเนิดระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ขณะที่กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบเก่ากลายเป็นบิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย แกนนำของพวกเขาจำนวนหนึ่งกลายเป็นแบบอย่างของนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรม และสังคมอุดมคติในความรับรู้ของชนรุ่นหลัง

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475” และผลของการเคลื่อนไหวนี้ ไม่ว่าจะผ่านการออกกฎหมาย การให้คำอธิบาย การล้ม และการบัญญัติรัฐธรรมนูญ การใช้กำลังอาวุธ การลอบสังหาร การป้ายสีโจมตี ไปจนถึงการสร้างและผลิตซ้ำเรื่องเล่าในรูปนิยาย สารคดีการเมือง บันทึก และเอกสารต่างๆ เป็นต้น คือแกนกลางของหนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ

งานเขียนของณัฐพล ใจจริงที่รวมอยู่ในเล่มนี้นั้น เป็นผลจากการใช้เวลาร่วมทศวรรษรวบรวมหนังสือเก่าเกี่ยวกับการเมืองไทยภายหลังการปฏิวัติสยาม และเป็นผลจากการคิดค้น และเขียนขึ้นในบริบททั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนับตั้งแต่ยุคต้นของรัฐบาลไทยรักไทยถึงยุคการเคลื่อนไหวเราจะสู้เพื่อในหลวงกระทั่งเกิดปฏิกิริยาตาสว่างต่อมาภายหลัง จนส่งผลให้เกิดข้อสงสัยและความสนใจใคร่รู้ในเรื่องสถาบันกษัตริย์ พร้อมกับกระแสการกลับไปหาคณะราษฎรอีกครั้ง

แน่นอนว่า สถาบันกษัตริย์และเครือข่ายแวดล้อมมีความสำคัญต่อสังคมการเมืองไทย แต่การอภิปรายถึงสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายในยุคหลังคณะราษฎรเป็นต้นมา กลับถูกครอบด้วยแนวคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติและต้องอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป รวมทั้งยังถูกจำกัดด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขณะที่อีกด้านหนึ่ง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับสถาบันกษัตริย์ล่มสลายลง ปัญญาชนไทยก็ค่อย เลิกให้ความสำคัญต่อประเด็นสถาบันกษัตริย์ สภาวะเช่นนี้ ทำให้งานเขียนในโลกวิชาการภาษาไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่มิใช่ลักษณะอาเศียรวาทสดุดีมีอยู่น้อยชิ้นและไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก

อย่างไรก็ดี ในปี 2544 การปรากฏตัวของหนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นับเป็นหมุดหมายสำคัญที่ท้าทายต่อกรอบความคิดหลักในการวิเคราะห์บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการเมืองไทย ในปีเดียวกันนั้นเอง บทความเรื่องวิวาทะของหนังสือเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจฯ และพระบรมราชวินิจฉัยฯ กับการเมืองของการผลิตซ้ำของณัฐพล ใจจริง ก็ปรากฏตีพิมพ์ใน จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2544-พฤษภาคม 2545)

หลังจากนั้นนับเป็นเวลาเกือบทศวรรษที่ณัฐพล ใจจริงพยายามขยายพรมแดน ความรู้เรื่องการปฏิวัติ 2475” โดยการเข้าไปศึกษาขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475” และผลงานเกือบทั้งหมดกลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้

กล่าวโดยรวม ณัฐพล ใจจริงเป็นหนึ่งในนักวิชาการร่วมสมัยปัจจุบันที่ช่วยบุกเบิกรื้อความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเมืองไทย รวมทั้งบทบาทของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมต่อระบอบการเมือง โดยใช้เอกสารหลักฐานเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว ปัญหาและความพิกลพิการต่างๆ ของการเมืองไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้ง แสดงให้เห็นว่าสถานะของสถาบันกษัตริย์อย่างที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยและในหัวของคนไทยทุกวันนี้มิใช่สิ่งดั้งเดิมที่เป็นอยู่มายาวนานสืบเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นผลผลิตจากกระบวนการคว่ำปฏิวัติโค่นคณะราษฎรนับตั้งแต่ขวบปีแรกของระบอบใหม่เป็นต้นมา

หนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (.. 2475-2500) เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือชุดกษัตริย์ศึกษาของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งพยายามรวบรวมงานศึกษาที่แวดล้อมสถาบันกษัตริย์ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรรม เนื่องจากฟ้าเดียวกันเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจสังคมไทยอย่างถึงรากโดยละเลยองค์ความรู้เรื่องสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าเราจะมีทัศนะต่อบทบาทหรือการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์อย่างไร

คำนำผู้เขียน

การศึกษาเรื่องการเมืองไทยโดยรัฐศาสตร์แนวการพัฒนาการเมือง (political development) นั้นมักสรูปปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยไทยว่า เกิดขึ้นจากกองทัพเข้ามามีบทบาททางการเมืองนับตั้งแต่การปฏิวัติ 2475” เป็นต้นมา หรือมักเรียกกันว่าอำมาตยาธิปไตย” (bureaucratic polity) ข้อสรุปดังกล่าวได้ครอบงำ องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์และองค์ความรู้ในทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่เป็นเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เริ่มเกิดคำถามต่อข้อสรุปนี้ ซึ่งมุ่งมองกองทัพเป็นตัวแสดงหลักทางการเมืองแต่เพียงตัวแสดงเดียว ว่าทำให้การศึกษาดังกล่าวมองข้ามการพิจารณาตัวแสดงทางการเมืองสำคัญอื่นๆ ไป

เป็นความจริงที่ว่า แม้ในเวลาต่อมาจะมีการขยายพรมแดนของความรู้ในทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่โดยนักวิชาการหลายคนที่มุ่งศึกษาบริบทและผลของการปฏิวัติ 2475” ซึ่งมีผลงานโดดเด่นหลายเล่มก็ตาม แต่ยังไม่มีการศึกษาด้านกลับของการปฏิวัติ 2475 หรือปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475” (the counter-revolution of 1932) ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

หนังสือรวมบทความเล่มนี้จึงขอร่วมเปิดพรมแดนการศึกษาการปฏิวัติ 2475” ใหม่ ด้วยการศึกษาปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475” เพื่อเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่หรือประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยแบบใหม่ โดยคลี่ให้เห็นถึงความคิดและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์นิยมหรือกลุ่มกษัตริย์นิยมที่เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองสำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475 ซึ่งความคิดและบทบาททางการเมืองของพวกเขามีผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ไม่น้อยไปกว่าบทบาทของกองทัพ

ทั้งนี้ งานเขียนของข้าพเจ้าจะไม่สามารถสำเร็จลงได้หากปราศจากความช่วยเหลือของครู เพื่อน และกัลยาณมิตรดังต่อไปนี้ รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชูมี้ด .ดร. เกษียร เตชะพีระ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ดร, เก่งกิจ กิติเรียงลาภ . จีรพล เกตุจุมพล ดร. จักรี ไชยพินิจ .ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา รศ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ .ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ .ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู .ดร.ชัยวัฒน์สถาอานันท์ .ชาย ไชยชิต ชัยธวัช ตุลาธน ดร. ฐาปนันท์นิพิฏฐกุล ดาวเรือง แนวทอง ผศ. .. เทอดสกุล ยุญชานนท์ ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม .ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ .ดร. ธงชัย วินิจจะกูล รศ. ธเนศ วงศ์ยานนาวา ผศ.ดร. ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ดร. ธนาพล ลิ่มอภิชาต ธนาพล อิ๋วสกุล .ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ผศ.ดร. บูฆอรี ยีมะ ผศ.ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ .ปรียาภรณ์ กันทะลา ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ ผศ.ดร. ประภาส ปิ่นตกแต่ง ผศ.ดร. พิษณุ สุนทรารักษ์ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ผศ.ดร.พิศาล มุกดารัศมี ดร. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ผศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร รศ. วีณา เอี่ยมประไพ ผศ. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ วารุณี โอสถารมย์ วีรศักดิ์ กีรติวรนันท์ รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รศ.ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผศ. สุวิมล รุ่งเจริญ สุพจน์ แจ้งเร็ว เสถียร จันทิมาธร . สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ . ศิวะพล ละอองสกุล . ศรัญญู เทพสงเคราะห์ .ดร. อนุสรณ์ ลิ่มมณี .ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อุกฤษฎ์ปัทมานันท์ ดร. อลงกรณ์ อรรคแสง David Streckfuss Kevin Hewisonและ SørenIvarssonรวมทั้งคนอื่น ที่มิอาจบันทึกได้หมดบนหน้ากระดาษนี้ที่ให้คำสอน คำปรึกษา และความช่วยเหลือ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แก่ผู้เขียนเสมอมา และที่สำคัญที่ไม่อาจลืมได้ คือ แม่ เอ๋ และเพลิน

[1]โปรดดูตัวอย่างของการศึกษาปฏิปักษ์การปฏิวัติฝรั่งเศส .. 1789 ใน jacqesLéon Godechot, The Counter – Revolution : Doctrine and Action, 1789-1804 (Princeton, New Jersey : Princeton University Press, 1981) เป็นต้น

ทดลองอ่าน