สารบัญ
บทบรรณาธิการ
หาเรื่องมาเล่า
“การวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม”
วิวาทะว่าด้วย คาร์ล มาร์ก และสัตสังคม
ขบวนการประชาชนโลกเพื่อความยุติธรรม
รายงานพิเศษ
ขบวนการคนจนไร้ที่ดิน : เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน
อุเชนทร์ เชียงแสน
บทความพิเศษ
เอ็ดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด
ภัควดี วีระภาสพงษ์
ความฝันและมายาคติ
เอ็ดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด
ใต้ฟ้าเดียวกัน
เมืองไทย
สากล
Art&Earth
สังคม-ศิลป-โฆษณา
ชล เจนประภาพันธ์
ทัศนะวิพากษ์
วิพากษ์จักรวรรดิ (นิยม) ใหม่ : คุยเรื่องหนังสือ Empire
กองบรรณาธิการ
กระแสวัฒนธรรมชุมชนกับภูมิปัญญาชาวบ้าน : ภาพอุดมคติของการต่อสู้ทางอุดมการณ์
ประวิตร โรจนพฤกษ์
เศรษฐกิจกับความยุติธรรม
อานันท์ กาญจนพันธุ์
สันติวิธี : ทางเลือกแห่งอดีตหรืออนาคต
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล
สิทธิในชีวิต : ชีวิตไม่ใช้อาวุธ วิพากษ์แนวคิดเชิงวิพากษ์
มนุษยภาพ
เอ๊กต้า ปาริฉัด : ขบวนการรากหญ้าอินเดียแนวสันติวิธี
ขอบฟ้าความคิด
แนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้และยุทธวิธีของขบวนการทางสังคม
ประภาส ปิ่นตบแต่ง
หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์
บทนำโครงร่างวิทยานิพนธ์ “ที่หายไป”
วิชัย นภารัศมี
โครงร่างวิทยานิพนธ์ เรื่อง คำเขมรโบราณในภาษาไทย
จิตร ภูมิศักดิ์
บทบรรณาธิการ
น้ำยาสันติวิธี
แนวคิด “สันติวิธี” แม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความรุนแรงใน การแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าการใช้ความรุนแรงนั้นแม้ว่าจะแก้ไขปัญหาได้ แต่ก็จะก่อให้เกิดความรุนแรงตามมาอีกไม่สิ้นสุด
แต่ทว่า “ความรุนแรงอันเป็นต้นเหตุของปัญหา”และ “วิธีที่รุนแรงซึ่งใช้ในการแก้ไขปัญหา” คืออะไร สำหรับสังคมไทยแม้ว่ายังไม่มีการนิยาม / ถกเถียงกันอย่างจริงจัง แต่บ่อยครั้งที่วิธีการเดียวกัน ในบริบท และผลประโยชน์ทางชนชั้นที่แตกต่างกัน วิธีการหนึ่งคือการใช้สิทธิอย่างถูกต้องชอบธรรม ขณะที่อีกวิธีการหนึ่งคือการใช้ความรุนแรง
ด้วยเหตุนี้เองแม้ว่าจะเป็นที่น่ายินดีที่มีหน่วยงานของรัฐจำนวนมากให้ความสนใจในปัญหาความขัด แย้งและกระบวนการจัดการปัญหาความขัดแย้งด้วยกระบวนการสันติวิธี ทั้งในสถาบันทางวิชาการ สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ แต่ท่ามกลางความน่ายินดีที่เกิดขึ้นเราก็ต้อง ไม่ลืมว่ารัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีความสามารถในการผนวกรวมแนวคิดต่าง ๆ มาไว้ภายใต้การแนวคิดเดิมของตนไว้อย่างแนบเนียน โดยที่ตัวรัฐไทยเองนอกจาก
ไม่ต้องเปลี่ยนเนื้อไปจากเดิม ขณะ ที่รูปแบบของรัฐก็ได้รับการตกแต่งให้ดูดีขึ้น
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า ภายใต้การนิยามเรื่องสันติวิธีโดยหน่วยงานของรัฐ ต่อไปแม้แต่การทำตาม กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ (โดยไม่ใส่ใจว่ากฎหมายที่ว่านั้นมีความถูกต้องชอบธรรม หรือสอดคล้องกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด) ก็ถือว่าเป็นกระบวนการสันติวิธีได้เช่นกัน
“น้ำยาสันติวิธี” คือความพยายามของเรา– ฟ้าเดียวกัน – ในการนำเสนอมุมมองในแนวคิดสันติวิธีและ ความรุนแรงในมิติต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของการวิพากษ์ ซึ่งเป็นการนำงานสัมมนา“สิทธิในชีวิต: ชีวิต ไม่ใช้อาวุธวิพากษ์แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรงผ่าน อาวุธมีชีวิต?” ซึ่งเป็นการวิจารณ์หนังสือ อาวุธมีชีวิต?ของนักสันติวิธีคนสำคัญของสังคมไทย คือ ชัยวัฒน์สถาอานันท์ โดยนักวิชาการรุ่นใหม่ จากหลากหลายสำนักคิด ขณะที่ “สันติวิธี: ทางเลือกแห่งอดีตหรืออนาคต” คือการตั้งคำถามกับ “แนวคิดสันติวิธี” กับสิ่งที่เกิดจริงในสังคมไทยโดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล
ส่วนประสบการณ์ในต่างแดน “เอ๊กต้า ปาริฉัด: ขบวนการรากหญ้าอินเดียแนวสันติวิธี” ที่ปรากฏอยู่ ในคอลัมน์ มนุษยภาพ นั้น เราได้นำเสนอประสบการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของเพื่อนบ้าน ซึ่งเดินตามแนวทางสันติวิธีของคานธี เพื่อให้ได้มาซึ่งการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชน, การสำรวจแนวทางการต่อสู้และยุทธวิธีและข้อถกเฉียงที่เกิดขึ้น “แนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้และยุทธวิธีของขบวนการทางสังคม” โดยประภาส ปืนตบแต่ง ซึ่งปรากฏในคอลัมน์ ขอบฟ้าความคิด รวมทั้งรายงานพิเศษ“ขบวนการคนจนไร้ที่ดิน: เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน” โดยอุเชนทร์ เชียงเสน ซึ่งกลายเป็นวิวาทะเกี่ยวกับความหมิ่นเหม่ถึงวิธีการที่เป็นอยู่ว่า “ล้ำเส้น” หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ก็ด้วยความคิดที่ว่า “แนวคิดสันติวิธี” ก็เช่นเดียวกันแนวคิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน แนวคิดสังคมนิยม ฯลฯ นั้นแม้ จะอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกันแต่ก็มิได้เพียงเฉดสีเดียว และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีใครหรือหน่วยงานไหนจะผูกขาดการนิยามแต่เพียงฝ่ายเดียว
เช่นเคย การที่ ฟ้าเดียวกัน สามารถจัดพิมพ์วารสารฉบับที่ 4 ออกมา ก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนมิตรที่หลากหลาย ขณะเดียวกันการที่วารสารราย 3 เดือน ที่สามารถผลิตวารสารฉบับที่ 4 ออกมาได้ก็หมายความว่าสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน ได้มีอายุเลย 1 ปีมาแล้ว ซึ่งใน โอกาสก้าวขึ้นปีที่ 2 ทางสำนักพิมพ์คงจะพยายามปรับปรุงเนื้อหาของวารสารให้มีความสอดรับกับสถานการณ์ที่ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องได้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำจากผู้อ่านทุกท่าน ทั้งในการส่งบทความ/ข้อวิจารณ์ หรือการต่ออายุสมาชิก