ฟ้าเดียวกัน 2/2 : วันชาติ

80.00 บาท

ของหมด

รหัส: 97716856880056 หมวดหมู่:

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

หาเรื่องมาเล่า

ถอดรื้อความคิด “หลังตะวันตกนิยม” แบบไทยๆ

จับตาการค้าเสรี

FTA เกี่ยวอะไรกับเรา

จักรชัย โฉมทองดี

รายงานพิเศษ

สู่โอลิมปิกด้วยเส้นทางสายแรงงานทาส

เพ็ญนภา หงส์ทอง

การเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปกรอบใหม่

กองบรรณาธิการ

ทัศนะวิพากษ์

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบทักษิโณมิคส์

กองบรรณาธิการ

คนงาน : อัตลักษณ์และวัฒนธรรม

ศิโรตม์คล้ามไพบูลย์

ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

Art&Earth

“ย้ำ”

URBAN PARADISE

ขอบฟ้าความคิด

วิวาทะแห่งอนาคต : ข้อถกเถียงของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในสมัชชาสังคมโลก

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

การทดสอบความคิดของผู้นิยมมาร์กซ์อย่าง Alex Callinicos

อเล็กซ์คาลลินิคอส

คำป่าวร้องของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรมวลชน

“โลกใบใหม่เราสร้างได้”

ใจ อึ้งภากรณ์

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเวทีวิพากษ์ WSF

ประวิตร โรจนพฤกษ์

มนุษยภาพ

ประกายไฟแห่งความหวังในชุมชนคนดำแห่งแอฟริกาใต้

เทรเวอร์ อึงวาเน

หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์

หนังสือพิมพ์กรรมกร ร่องรอยการกำเนิดชนชั้นใหม่บนแผ่นดินสยาม

ชัยธวัช ตุลาฑล

หนังสือพิมพ์กรรมกร

บทบรรณาธิการ

รัฐ

รุ่งอรุณของเช้าวันพุธที่ 28 เมษายน 2547 สังคมไทยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมายอมรับกับความเป็นจริงที่ว่า ความรุนแรงไม่เป็นข้อยกเว้นสำหรับสังคมไทย มายาภาพของสังคมที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก สังคมอันแสนสงบสุข เปรียบได้กับหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ปราศจากความขัดแย้ง หรือถ้ามีความขัดแย้งก็จะมี “ผู้ใหญ่” ในหมู่บ้านเข้ามาจัดการอย่างที่ทุกฝ่ายยอมรับได้โดยดุษณีภาพ ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในแบบเรียนหรือจากลมปากของบรรดาผู้อาวุโสต่าง ๆ ในสังคมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นคำปลอบใจที่ไม่ช่วยแก้ปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น

เรื่องราวของวันที่ 28 เมษายน คงทำให้ใครบางคนสะอื้นไห้อาลัย ใครบางคนคงปลาบปลื้มในชัยชนะต่ออริราชศัตรู ใครบางคนคงตระหนกตื่น ผวาหวาดกลัว ใครบางคนคงรู้สึกมั่นใจในการกลับมาของอำนาจรัฐและพลังแผ่นดินมากขึ้น ฯลฯ เราจะเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยังไง? แล้วเราจะมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร? แน่นอนที่สุด การ “ลดทอน” คนเหล่านั้น ให้เป็นเพียงผู้ติดยาเสพติด หรือ “โจรกระจอก” นอกจากที่จะไม่ช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้แล้วก็ยังนำไปสู่การ “จัดการ” สิ่งที่เกิดขึ้น ดังวันที่ 28 เมษายน 2547

คำถามก็คือ จริงๆ แล้วสังคมไทยมีพื้นฐานที่จะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ด้วยสันติวิธีจริงหรือไม่ หรือว่าเอาเข้าจริงแล้ว สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสันติวิธี

ต่างหากคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของสังคมไทย

ฟ้าเดียวกัน ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของทุกชีวิตในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 รวมทั้งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องก่อนหน้านี้และเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา

ด้วยปรารถนาที่เห็นการตรึกตรองทำความเข้าใจและแสวงหาทางออกในเรื่องนี้อย่างกว้างขวางลุ่มลึกในสังคมไทย ฟ้าเดียวกัน ฉบับหน้า (กรกฎาคม – กันยายน, 2547) จึงกำหนดเนื้อหาให้ล้อมรอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “เหตุการณ์ 28 เมษายน 2547”

ดังนั้น เราขอประกาศเชิญชวนทุกท่านที่สนใจที่จะแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็นในประเด็นเหล่านี้ ส่งข้อเขียน/บทความ มาที่เรา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2547

………..

ในสถานการณ์ที่สังคมเริ่มสงสัยกับอำนาจรัฐว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหนในการจัดการผลประโยชน์ในนามคนทั้งชาติ ฟ้าเดียวกัน ฉบับนี้ ขอนำเสนอเรื่องรัฐ ในมุมมองต่าง ๆ เริ่มจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่นำเสนอว่า 24 มิถุนา มีความสำคัญในลักษณะที่สมควรกลับไปเป็นวันชาติ “เพราะ 24 มิถุนา ทำให้เกิดระบอบรัฐแบบใหม่ ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน” (สภา, ครม., นายก, พระมหากษัตริย์) และ การกำหนด 24 มิถุนายน เป็นวันชาติไทย (ในอดีต) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสถาปนาอุดมการณ์ของรัฐแบบใหม่หลัง 2475 ประสบผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร หาคำตอบได้จากบทความขนาดยาว “ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา”

ในสถานการณ์ปัจจุบันก็ได้มีความพยายามของรัฐบาลทักษิณที่จะแปรรูปรัฐ (วิสาหกิจ) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายทักษิโณมิคส์ แต่ทำไมความพยายามนี้กลับมิได้รับการตอบสนองที่ดีเท่ากับนโยบายอื่น ๆ -ฟ้าเดียวกัน-จึงขอนำเสนอมุมมองต่าง ๆ ต่อ “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบทักษิโณมิคส์” พร้อมด้วยรายงานพิเศษเรื่อง “การเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปรอบใหม่” ที่เป็นการประมวลการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานรัฐวิสากิจนับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540  เป็นต้นมา

ถ้าการแปรรูปรัฐ (วิสาหกิจ) ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในประเทศไทย การต่อต้านการแปรรูปรัฐ (วิสาหกิจ) ก็มิได้เกิดขึ้นแต่ในประเทศไทยเช่นกัน ดังนั้น ความบอกเล่าของ Trevor Ngwaneสมาชิกระดับนำคนหนึ่งของคณะกรรมการวิกฤตการณ์ไฟฟ้าแห่งโซเวโต (the Soweto Electricity Crisis Committee) และสมัชชาต่อต้านการแปรรูปแห่งแอฟริกาใต้ (the South African Anti-Privatization Forum) ซึ่งองค์กรทั้งคู่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงสาธารณูปการของคนผิวดำและต่อต้านนโยบายเสรีนิยมของรัฐบาล ใน “ประกายไฟแห่งความหวังในชุมชนคนตำแห่งแอฟริกาใต้”จึงเป็นประสบการณ์ใต้ฟ้าเดียวกันที่ไม่ควรมองข้าม

ในเวทีสมัชชาสังคมโลก (WSF) ที่จัดขึ้นที่อินเดียเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปิยะมิตร ลีลาธรรม ผู้สื่อข่าวพิเศษของเรา หนึ่งในนักกิจกรรมทางสังคมนับแสนคนที่เข้าร่วม ได้รายงานถึง “วิวาทะแห่งอนาคต” ที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยบทสัมภาษณ์ Alex Callinicos นักคิดตนสำคัญของ International Socialist Tendency (IST) รวมทั้งความคิดเชิงวิพากษ์ของคนไทยผู้เข้าร่วมท่านอื่นๆ

วันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็น วันกรรมกรสากล เพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน เรามีความเข้าใจ “คนงาน” อย่างไร? ศิโรตม์คล้ามไพบูลย์ พยายามที่จะทำความเข้าใจถึงสถานะของคนงานผ่านมุมมองสังคมวิทยา และรายงานพิเศษ  “สู่โอลิมปิกด้วยเส้นทางสายแรงงานทาส” เป็นส่วนหนึ่งที่บอกเล่าถึงชะตากรรมของพวกเขาในสายพานการผลิตสินค้าเกี่ยวกับ “กีฬา” ซึ่งบัดนี้กลายเป็น “ทุนนิยมทางวัฒนธรรม” ไปแล้ว

เช่นเคย เรา -ฟ้าเดียวกัน –ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่คอยอุดหนุนวารสารและหนังสือของสำนักพิมพ์ และเป็นกำลังใจให้ ฟ้าเดียวกัน ตลอดมา และเพื่อนมิตรที่ยินดีสนับสนุนช่วยเหลือทุกครั้งที่ร้องขอ

ทดลองอ่าน