สารบัญ
บทบรรณาธิการ
“ราชประสงค์” ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
จดหมายถึงกอง บก.
สิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงสำหรับสถาบันกษัตริย์
บริบทของการเสนอผังขบวนการล้มเจ้าโดย ศอฉ.
เขาจับและสอบสวนผมยังไง
ปฏิกิริยา
อันเนื่องมาจาก “ภาพ และ มายาภาพ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
วริศรา ตั้งค้าวานิช
หาเรื่องมาเล่า
รื้อ-ซ่อม-สร้าง ความหมายของความยากจนผ่านวิทยานิพนธ์รางวัลวนิดา
ความทรงจำกับการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติ
คำขบวน
สหการนิยม, อนาธิปไตย-สหการนิยม Syndicalism, Anarcho-Syndicalism
ภัควดี วีระภาสพงษ์
มหาชนทัศนะ
“สภาวะยกเว้น” ในความคิดของ Giorgio Agamber
ปิยบุตร แสงกนกกุล
พากย์สนาม
Nuer Dilemmas แบบอย่างชาติพันธุ์วรรณนา ว่าด้วยชนพื้นเมือง เงินตรา สงคราม และรัฐ
บุญเลิศ วิเศษปรีชา
ทัศนะวิพากษ์
สงครามประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย การต่อสู้ของสถาบันกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่
แพทริคโจรี เขียน จิรวัฒน์ แสงทอง แปล
รัฐแห่งความเพ้อฝัน: อดีตที่ไม่ลงรอยของปัตตานี และความเป็นไปไม่ได้ของการ “สมานฉันท์”
มาร์ค แอสคิว เขียน สุภัตรา ภูมิประภาส แปล
เสียงกับความทรงจำการต่อรองแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
อติภพ ภัทรเดชไพศาล
รายงานพิเศษ
จากพฤษภาประชาธรรมถึงรัฐประหารเพื่อประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อ่านการต่อสู้ทางชนชั้นในพลวัตการเมืองไทย
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์,สมชัย ภัทรธนานันท์,สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์
“เข้าคณต้องรู้” ข้อบังคับคอมมิวนิสต์ ฉบับแรกในสยาม
ธนาพล อิ๋วสกุล
เข้าคุณต้องรู้
โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์
โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์
มุมมองต่อการสลายการชุมนุมของรัฐบาล
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
นิติรัฐกับความยุติธรรมแบบไทย
ทำความเข้าใจขบวนการประชาชน
บทบรรณาธิการ
“ราชประสงค์” ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
นับแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา เมื่อกลุ่มนิยมเจ้าสามารถหวนคืนสู่อำนาจทางการเมืองหลังสิ้นยุคคณะราษฎร ประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยก็ตกอยู่ภายใต้กรอบโครงเรื่องว่าด้วยพระอัจฉริยภาพของกษัตริย์ แม้จะถูกรบกวนบ้างจากสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความคิดความอ่านหรือวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอริราชศัตรูหรือมหาอำนาจต่างชาติ แต่ชาติไทยและความเป็นไทยของเราก็ดำเนินสืบเนื่องมาได้อย่างราบรื่น สงบสุข ภายใต้ร่มพระบารมี ผ่านยุคอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา กระทั่งถึง รัตนโกสินทร์
แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ชาติไทยและความเป็นไทยก็สามารถปรับตัวได้อย่างสอดคล้อง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นทั้งผู้นำที่พาชาติไปสู่ความทันสมัย เป็นบิดาของประชาธิปไตย เป็นแบบอย่างทางด้านวิทยาศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ กีฬา การลงทุน แม้กระทั่งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในยุคโลกาภิวัตน์ -เสรีนิยมใหม่ ขณะเดียวกัน พ่อของชาติก็เป็นศูนย์รวมจิตใจของมวลชน เป็นผู้นำทางศีลธรรมและการพัฒนาในยามที่บ้านเมืองเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม และยังสามารถใช้พระราชอำนาจในการยุติความเลวร้ายทางการเมืองได้อย่างเหมาะสมตามหลักเอนกนิกรสโมสรสมมติ
แน่นอนว่า กรอบโครงเรื่องประวัติศาสตร์ฉบับทางการดังที่ว่ามาก็มิได้ดำรงอยู่อย่างหยุดนิ่ง มิได้ดำรงสถานะครอบงำได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทว่าต้องต่อสู้-
ต่อรอง เพื่อรักษาอำนาจนำอย่างไม่ขาดสาย ทั้งในรูปพิธีกรรม แบบเรียน นิทรรศการ อาคาร สถานที่ อนุสาวรีย์ ดนตรี บทเพลง รูปภาพ นวนิยาย วรรณกรรม ละคร ภาพยนตร์ สื่อโฆษณา รายการบันเทิง เครือข่ายสังคมทางอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ
อย่างไรก็ดี ในอดีต การตรวจสอบ ตั้งคำถาม และท้าทายประวัติศาสตร์นิพนธ์กระแสหลักก็มักจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงแคบๆ ของปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยอาจจะมียกเว้นบ้างในช่วงกระแสสูงของการปฏิวัติสังคมนิยมภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่ฝ่ายต่อต้านก็ปราชัยไปในท้ายที่สุด เหลือทิ้งไว้แต่เศษซากผลผลิตที่เข้าใจได้ยากและขำไม่ออกในขบวนการมวลชนเหลือง-แดง
ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนับจากเดือนกันยายน 2549 ได้ส่งผลให้สภาพการณ์บางอย่างเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดูเหมือนว่า กระบวนการเปลี่ยนมุมมองทางประวัติศาสตร์กำลังเคลื่อนย้ายฐานที่มั่น จากปัญญาชนกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่มวลชนเรือนแสนเรือนล้าน ผ่านปฏิบัติการทางการเมืองบนท้องถนน ผ่านวิทยุชุมชน ผ่านจานดาวเทียม ผ่านเวทีพูดคุยเสวนา ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านแผ่นซีดี ผ่านสภากาแฟ ผ่านคำบอกเล่าของญาติมิตร รวมทั้งผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารความเร็วสูงสมัยใหม่
ปรากฏการณ์ที่ภาครัฐขะมักเขม้นกับการตรวจสอบ ตรวจจับ เซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสารที่ไม่พึงประสงค์หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ประกอบกับการจัดตั้งขบวนการมวลชนเลี้ยวขวาเพื่อทำหน้าที่ตำรวจทางความคิด ย่อมสะท้อนสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างชัดเจน
แต่ความพยายามที่จะแช่แข็งสังคมไทย โดยไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดเลย ดูจะเป็นเพียงแค่ความฝันเสียแล้ว โดยเฉพาะหลังการล้อมปราบครั้งใหญ่ ณ ใจกลางกรุงเทพมหานครเมื่อเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่โศกนาฎกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์จะแปรเป็นไฟการเมืองที่เผาไหม้ทำลายโครงสร้างการเมืองเก่า ความขัดแย้งและการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมา ได้บ่มเพาะปีศาจสำหรับชนชั้นนำไทยที่มาพร้อมกับความเข้าใจทางสังคม ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และความหมายทางการเมืองแบบใหม่ขึ้นมาแล้ว
เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ 2475 กรณีสวรรคต และ 6 ตุลา ซึ่งไม่มีที่ทางหรืออยู่อย่างอิหลักอิเหลื่อในกรอบโครงประวัติศาสตร์แห่งชาติ ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ประวัติศาสตร์ “ราชประสงค์” จะท้าทายประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยอย่างถึงราก คู่ขนานไปกับการต่อสู้ระหว่างปีศาจเสื้อแดงกับข้อจำกัดทางการเมืองเหนือการเขียนประวัติศาสตร์ไทย