ปากไก่และใบเรือ

ลดราคา!

฿360.00฿495.00


รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

คำนำสำนักพิมพ์

คำนำผู้เขียนในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 1

คำนำผู้เขียนในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2

บทที่ 1 วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์

บทนำ

1 วรรณกรรมสองชนชั้นของอยุธยา

2 ความเปลี่ยนแปลงด้านวรรณกรรมในต้นรัตนโกสินทร์

3 กระฎุมพีในเศรษฐกิจแบบส่งออก

4 วัฒนธรรมกระฎุมพีในวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์

บทสรุปและส่งท้าย

ภาคผนวก บัญชีรายชื่อวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์

บทที่ 2 สุนทรภู่ : มหากวีกระฏุมพี

บทที่ 3 อันเนื่องมาจากมหาชาติเมืองเพชร

บทที่ 4 โลกของนางนพมาศ

บทที่ 5 พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลื่อนไหวทางศาสนาในต้นรัตนโกสินทร์

บทที่ 6 ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา

บรรณานุกรม

ที่มาภาพ

ดรรชนี

การศึกษาประวัติศาสตร์ การเขียนประวัติศาสตร์ของเรายังไม่เริ่มต้นขึ้น

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับ อาร์โนลด์ทอยน์บี”,

สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มิถุนายนสิงหาคม 2512) หน้า 24

ประวัติศาสตร์สกุลดำรงราชานุภาพตามแนวทางการศึกษาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อการศึกษาและการเขียนประวัติศาสตร์ไทยนับตั้งแต่พุทธศตวรรษ 2450 เป็นต้นมา ประวัติศาสตร์สกุลดังกล่าวมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์จากการกระทำของบุคคล” (วีรบุรุษ/วีรสตรี) โดยละเลยความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

การมุ่งความสนใจไปยังสุโขทัยในฐานะรัฐในอุดมคติมากกว่าอยุธยาซึ่งมีความสืบเนื่องกับปัจจุบันมากกว่า

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยกับความสัมพันธ์กับตะวันตกอย่างคับแคบ โดยละเลยมิติความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

การมองประวัติศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือของอุดมการณ์ชาตินิยมมากกว่าจะมีคุณค่าในตัวเอง

ไม่เพียงแต่วิพากษ์ประวัติศาสตร์สกุลดำรงราชานุภาพซึ่งถือเป็นคำประกาศที่อาจหาญยิ่ง ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ งานเขียนของนิธิ (ในวัย 29 ปี) ยังแสดง พันธกิจที่จะข้ามพ้นประวัติศาสตร์สกุลดำรงราชานุภาพซึ่งนิธิได้แสดงให้ประจักษ์เรื่อยมาอย่างคงเส้นคงวา

อีก 1 ทศวรรษต่อมานิธิได้ผลิตความเรียง 6 ชิ้น ดังปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์และเผยแพร่ในครึ่งแรกของทศวรรษ 2520 โดยเรียงตามลำดับเวลาต่อไปนี้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา” (2521) “โลกของนางนพมาศ” (2522) “สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี (2524) “พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลื่อนไหวทางศาสนาในต้นรัตนโกสินทร์” (2524) “อันเนื่องมาจากมหาชาติเมืองเพชร” (2524) และวัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” (2525)

ความเรียงข้างต้นอันประกอบขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่มีจุดร่วมตรงที่ ใช้ตัวบทวรรณกรรมในการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นว่านิธิได้ส่องสำรวจและตีความวรรณกรรมนานาประเภท อาทิ วรรณกรรมที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ หรือวรรณกรรมตลาดเช่นงานของสุนทรภู่บางชิ้น วรรณกรรมทางศาสนา เช่น มหาชาติเมืองเพชรพระปฐมสมโพธิกถา ตลอดจนวรรณกรรมราชสำนัก เช่น รามเกียรติ์ ลิลิตพระลอ กระทั่งงานบันทึกประวัติศาสตร์อย่างพระราชพงศาวดาร เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมต้นรัตนโกสินทร์ งานชิ้นนี้ยังเกิดขึ้นท่ามกลางบริบททางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีก 2 ประการคือ

1. ความเรียงทั้งหมดนี้อยู่ในช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทย อันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา สืบเนื่องจากขบวนการประชาชน 14 ตุลาคม .. 2516 เมื่อพิจารณาในเชิงปริมาณจากการสำรวจสถานภาพงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ระหว่าง .. 2503-2535” ของแถมสุข นุ่มนนท์ และคณะ พบว่าในระหว่างปี .. 2516-2530 มีงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีนักศึกษาปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนหน้านั้น หลังจากนี้ความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2530 พร้อมๆ กับการล่มสลายของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล

2. งานเขียนชิ้นนี้เป็นวิวาทะกับงานเขียนประวัติศาสตร์สกุลฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะขณะที่งานเขียนของฉัตรทิพย์และคณะเสนอว่า เศรษฐกิจสยามก่อนลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงในปี .. 2398 นั้นเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ การค้ายังไม่มีความสำคัญมากเนื่องจากถูกผูกขาดโดยราชสำนัก งานของนิธิชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็น ถึงการเติบโตของการค้าพาณิชย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงด้านโลกทรรศน์ของผู้คนในยุคนั้นด้วย ดังปรากฏหลักฐานในตัวบทวรรณกรรมประเภทต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

นับตั้งแต่หนังสือ ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี .. 2527 โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์การพิมพ์ การจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันในครั้งนี้เป็นการตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ในเวลาห่างกันร่วม 22 ปี ในครั้งนี้มีการรวมบทความประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยาเข้ามาไว้ด้วยเช่นเดียวกับ หนังสือ ปากไก่และใบเรือ พากย์ภาษาอังกฤษ หรือ Pen and Sail: Literature and History in Early Bangkok (2005)

ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดพิมพ์หนังสือชุดสยามพากษ์ ซึ่งเราได้คัดเลือกหนังสือที่เห็นว่ามีความสำคัญในการศึกษาทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ของสังคมการเมืองไทยในยุคสมัยนั้นๆ ขณะเดียวกันจุดร่วมของหนังสือชุดนี้คือการท้าทายหรือหักล้างงานศึกษาก่อนหน้านั้นด้วยข้อมูลและ/หรือกรอบทฤษฎี แน่นอนว่า ไม่มีงานวิชาการชิ้นไหนที่ปราศจากจุดอ่อนให้วิพากษ์หักล้าง ไม่เว้นแม้แต่งานที่เราได้คัดสรรมาจัดพิมพ์ แต่เราเชื่อว่าหนังสือชุดสยามพากษ์นี้เป็นงานที่ต้องอ่านไม่ว่าจะเห็นพ้องต้องกันด้วยหรือไม่ก็ตาม

อนึ่ง การจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ไม่อาจสำเร็จได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลเป็นจำนวนมากที่เห็นความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คุณปวิตร ว่องวีระ ให้ คำแนะนำที่มีคุณค่าในการตรวจสอบต้นฉบับ รวมทั้งยังเป็นบรรณาธิการบทความประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยาด้วยความละเอียดยิ่ง คุณกมลทิพย์ จ่างกมล คุณกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์ คุณปรีดาภรณ์ เอี่ยมแจ๋ คุณนุชจรี ใจเก่ง คุณอาทิตย์ เจียมรัตตัญญู อาจารย์เสมอชัย พูลสุวรรณ แนะนำภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อใช้เป็นภาพประกอบบทความ สำนักพิมพ์สารคดีเอื้อเฟื้อภาพประกอบ คุณประชา สุวีรานนท์ ออกแบบปกหนังสือเล่มนี้และเล่มอื่นๆ ในชุดสยามพากษ์ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน อาจารย์คริสเบเกอร์ ผู้เป็นแบบอย่างในการทำงานต้นฉบับหนังสือวิชาการผ่าน Pen and Sail: Literature and History in Early Bangkok (2005)

และสุดท้ายคือ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ให้โอกาสสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันใน การจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมา

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

ธันวาคม 2550

อ่านต่อ >>