Sale 10%

ฟ้าเดียวกัน 18/2 : อ่านใหม่พระปฐมบรมราชโองการ

Original price was: 250.00 บาท.Current price is: 225.00 บาท.

รหัส: 9786167667904 หมวดหมู่:

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

ประเทศที่อนุญาตให้มีอุดมการณ์เดียว

ทัศนะวิพากษ์

อ่านประวัติศาสตร์พระปฐมบรมราชโองการ (ใหม่) : คันฉ่องสะท้อนนัยยะทางกฎหมายและการเมืองของกษัตริย์และสยามสมัยใหม่

คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร

สูติบัตรรัฐไทย

ปวงชน อุนจะนำ

“คณะราษฎร” ผู้ริเริ่มทางหลวงแผ่นดิน (พ.ศ. 2475-2500)

นริศ จรัสจรรยาวงศ์

เสนีย์ ปราโมช กับประวัติศาสตร์กฎหมายแนวกษัตริย์นิยม

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

พลวัตชนชั้นนำไทยหลัง 14 ตุลา 2516 : จากการก่อตัวของพันธมิตรระหว่างพระมหากษัตริย์ กลุ่มอนุรักษนิยม และผู้นำทหาร ถึงพิมพ์เขียวการเมืองไทยที่ล้มเหลว

อาสา คำภา 

คำประกาศราษฎรที่เป็นมนุษย์ มิใช่ฝุ่นละอองธุลีพระบาท : จดหมายถึง ร. 10

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

บทบรรณาธิการ

ประเทศที่อนุญาตให้มีอุดมการณ์เดียว

ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ ลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครอง แบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภา ผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา

ในประกาศคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ยื่นคำขาดว่าประเทศนี้ไม่ปิดโอกาสให้บุคคลสามัญขึ้นเป็นประมุขของประเทศซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า “การปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย” (หมายความว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ตรงกันข้ามกับราชาธิปไตย) สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าขอบฟ้าความคิดของสังคมไทยนั้นมิได้มีแต่ราชาธิปไตยแต่อย่างที่ทราบ พระปกเกล้าฯ ได้ยอมรับเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 เพียงแต่พระองค์ได้ขอเติมคำว่า “ชั่วคราว” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ด้วยข้อตกลงว่าจะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์กันระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายนิยมเจ้าในเวลาต่อมา

[expander_maker id=”1″ more=”อ่านต่อ >>” less=”<< ย่อหน้า “]

เมื่อเราดูรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน นอกจากมาตรา 1 ที่กำหนดไว้ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ในมาตรา 2 ยังกำหนดให้บุคคลและคณะบุคคลใช้อำนาจแทนราษฎร อันได้แก่ 1. กษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร(ซึ่งก็คือคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) 4. ศาล

หมายความว่ากษัตริย์เป็นหนึ่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ถึงแม้กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัยตามมาตรา 6 และยังกำหนดหลักการ The King Can Do No Wrong ไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 7 ที่ระบุว่า “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”

แต่เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์ขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ก็ได้ระบุว่าเป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม และยังระบุไว้ในมาตรา 1 ว่า “สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามมาตรา 3 หมายความว่ากษัตริย์ไม่ใช่เป็นแค่องค์กรตามรัฐธรรมนูญแต่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ นอกจากนั้น รูปแบบรัฐยังเป็นรัฐเดี่ยวอีกด้วย และทั้งหมดก็ได้กลายเป็นรัฐธรรมนูญทั้งฉบับลายลักษณ์อักษรและฉบับวัฒนธรรมตั้งแต่นั้นมา

อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในประเทศนี้มีคนที่คิดออกนอกกรอบราชอาณาจักรและรัฐเดี่ยวที่แข็งทื่อ แต่เสียงของคนเหล่านั้นไม่เคยได้เปล่งออกสู่สาธารณะหรือถ้าแสดงออกมาก็จะถูกปราบปรามอย่างแข็งกร้าว

ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า เสียงวิจารณ์ต่อบทบาทของสถาบันกษัตริย์ดังขึ้นอย่างเซ็งแซ่นับจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา และเมื่อปรากฏความพยายามของสถาบันฯ ที่จะหมุนย้อนเวลากลับไปสู่ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” เสียงต่อต้านก็ดังกระหึ่มขึ้น และนำไปสู้ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกันออกไป

ไม่ว่าจะเป็นข้อวิจารณ์แบบรอยัลลิสต์ของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้ที่เชื่อว่า “การมีสถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี” ไปจนถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ดังคำปราศรัยของปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 ที่สนามหลวง ล้วนอยู่ในกรอบราชอาณาจักรทั้งสิ้น

แต่สำหรับพวกไฮเปอร์รอยัลลิสต์แล้ว การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เท่ากับการล้มเจ้าดังนั้น เราจึงเห็นการดำเนินคดีกับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ (แม้จะปล่อยในเวลาต่อมา) การแสดงความยินดีปรีดาที่จะกลับไปสู่ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ของ ม.จ. จุลเจิม ยุคล ขณะที่กระบวนการรัฐสภาก็เรียกได้ว่าล้าหลังกระแสความเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาไปหลายก้าว เห็นได้จากเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาปฏิเสธที่จะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การแก้ไข หมวด 1 ทั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นทั้งหมวด 1 และหมวด 2 ก็มีการแก้ไขโดยพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 เอง

เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมได้ถูกฉีกและเขียนใหม่โดยคนหนุ่มสาวแล้ว แต่รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรกลับไม่พลวัตตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่ทันทีที่รัฐสภามีมติเตะถ่วงการแก้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 แฮชแท็ก “#RepublicofThailand” ก็ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง

ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่กินเวลาไม่ถึงหนึ่งปี สะท้อนถึงภาวะ disruption ทางความคิดความเชื่อของประเทศที่นับแต่รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 อนุญาตให้มีอุดมการณ์เดียวเกือบตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่แรงและเร็วกำลังจะมาถึงในไม่ช้า สถาบันใดที่ขยับปรับตัวไม่ทัน ในที่สุดอาจไม่สามารถอยู่รอดผ่านพ้นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่นี้ไปได้

ทดลองอ่าน