ฟ้าเดียวกัน 3/4 : สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย

100.00 บาท

ของหมด

รหัส: 9789749378496 หมวดหมู่:

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

หาเรื่องมาเล่า

สร้างความรู้สู่สมานฉันท์

ปากไก่ ใบเรือ และนิธิ เอียวศรีวงศ์

รายงานพิเศษ

วรรณกรรมศึกษาในแนวนวประวัติศาสตร์

กองบรรณาธิการ

สารบรรณ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริการสถาปนาพระราชอำนาจนำโดย ชนิดา ชิตบัณทิตย์

กองบรรณาธิการ

“พระราชอำนาจ” มีจริง

กองบรรณาธิการ

ชานหนังสือ

กองบรรณาธิการ

ทัศนะวิพากษ์

การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลัก และ “ความจริง” ที่ “ความเป็นไทย” สร้าง

สายชล สัตยานุรักษ์

บทวิจารณ์การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลักฯ

เกษียร เตชะพีระ

การมีสถาบันกษัตริย์ถูกกว่ามีประธานาธิบดี

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

การสืบราชสันตติวงศ์

สุพจน์ ด่านตระกูล

สถาบันพระมหากษัตริย์กับปัญหาการพัฒนาทางการเมืองของไทย

พุทธพล มงคลวรวรรณ

The Heart of the King is Unsearchable

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา

ธงชัย วินิจจะกูล

วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น

ธงชัย วินิจจะกูล

“หลัง 14 ตุลา”

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ในกระแส

การต่อสู้เพื่อยุโรปใหม่

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

มนุษยภาพ

ขบวนการชาวนาในฟิลิปปินส์ (1)

เพ็ญนภา หงส์ทอง

บทบรรณาธิการ

สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย

ในยุคสมัยปัจจุบัน

ความสำคัญของบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองมักถูกปฏิเสธที่จะเอ่ยถึง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า ทรง “อยู่เหนือการเมือง” หรือ ทรง “เป็นกลาง” ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ, องค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มีมากเพียงพอแล้ว, มีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าติดตามกว่า … หรือแม้กระทั่ง “ความกลัว”

เหตุผลข้างต้นส่งผลให้งานศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ต่อสังคมไทย ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์มีจำนวนจำกัด หรือถ้ามีก็มักเป็นการผลิตงานในท่วงทำนอง อาเศียรวาทสดุดีเสียเป็นส่วนใหญ่

คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า เราสามารถเข้าใจสังคมไทยได้หรือไม่ ถ้าปราศจากการทำความเข้าใจบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ?

สำหรับเรา – ฟ้าเดียวกัน – คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้หากจะเข้าใจสังคมไทยโดยละเลยบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในฐานะปัจจัยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับบทบาทหรือการดำรงอยู่ของสถาบันฯ หรือไม่ก็ตาม

นี่จึงเป็นเหตุให้วารสาร ฟ้าเดียวกัน ฉบับ สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทยปรากฏออกมาสู่สายตาของท่านผู้อ่าน

เป็นการปรากฏออกมาในสภาพแวดล้อมที่มีปมเงื่อนความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน การตั้งผู้นำเหล่าทัพ, การตั้งสังฆราช ฯลฯ

เป็นการปรากฏออกมาในภาวะที่กระแสความนิยมในหนังสือ พระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี ยังมิทันจางหาย ซึ่งกระแสนิยมดังกล่าวล้วนเชื่อมโยงไปสู่ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่อง พระราชอำนาจ

เป็นการปรากฏออกมาในสถานการณ์ที่การเมืองกำลังคุกรุ่นไปด้วย กลิ่นอายของความจงรักภักดีทั้งที่มีการเคลื่อนไหวชุมนุม, ฟ้องร้อง, ข่มขู่, ปิดกั้นเสรีภาพด้วยข้ออ้างที่ว่าฝ่ายตนกำลังปกป้องสถาบันกษัตริย์ และอีกฝ่ายกำลังหมิ่นพระพระบรมเดชานุภาพ

เป็นการปรากฏออกมาในห้วงเวลาที่บุคคลจำนวนหนึ่งกำลังเสนอให้ ประชาชนไทยถวายอำนาจคืนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อ ปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2

แน่นอนว่า เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในวารสารฉบับนี้คงเป็นเพียงส่วนน้อยนิดเมื่อเทียบกับอุดมการณ์ของสังคมที่ผูกพันอย่างลึกซึ้งกับสถาบันกษัตริย์ เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทยในมิติต่าง ๆ จะมีมากขึ้นในอนาคต ซึ่ง เรา – ฟ้าเดียวกัน- ยินดีที่จะเป็นเวทีเผยแพร่ให้

สุดท้าย สำหรับสำนักพิมพ์เล็ก ๆ การที่เราสามารถจัดทำวารสารราย 3 เดือนออกมาครบ 3 ปีนั้น คงละเลยไม่ได้ที่จะต้องขอบคุณเพื่อนมิตรทุกท่านสำหรับความช่วยเหลือในทุก ๆ กรณี รวมทั้งผู้อ่านที่คอยสนับสนุน ติดตาม หรือถามไถ่ความคืบหน้ามาอยู่เสมอ

ที่สำคัญอันขาดเสียมิได้ก็คือ คำแนะนำ ข้อเสนอ ข้อวิจารณ์ หรือบทความจากท่าน และในโอกาสนี้ เราขอแจ้งให้ทราบว่า ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ของปี 2549 ทางสำนักพิมพ์ได้กำหนดให้เป็นฉบับพิเศษว่าด้วยเรื่อง ทุนจึงขอเชิญชวนทุกท่านส่งบทความที่แวดล้อมเรื่องทุนในมิติต่าง ๆ โดยกำหนดปิดรับพิจารณาต้นฉบับในเดือนสิงหาคม 2549

ทดลองอ่าน