สารบัญ
บทบรรณาธิการ
จดหมายถึงกอง บก.
ใต้ฟ้าเดียวกัน
เมืองไทย
สากล
หาเรื่องมาเล่า
“เงินคือพระเจ้า”
ดาริน อินทร์เหมือน
คำขบวน
Affinity Group กลุ่มเครือสหาย
ภัควดี วีระภาสพงษ์
ส่องศิลป์
“สมานฉันท์” ใน 11 หนังสือใต้ร่มเงาสมานฉันท์
พัชรี อังกูรทัศนีย์รัตน์
ทัศนะวิพากษ์
เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
มองประวัติศาสตร์ด้วยตาเนื้อ
บะห์รูน
ความหลากหลายที่หายไป
จิรวัฒน์ แสงทอง, ทวีศักดิ์ เผือกสม
โครงสร้างความรุนแรงกับกระบวนการพัฒนาโลก
อุทัย ดุลยเกษม
เก็บรับมรดก กอส.
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
ธงดำตอบของ กอส. คือ “โรครัฐทำ”
อดีตสหายโชติ
จาก “มลายูปาตานี” สู่ “มุสลิส”
แพทริคโจรี เขียน นิพนธ์ โซะแฮง, ปริญญา นวลเปียน แปล
ขบวนการประชาชนกึ่งสำเร็จรูป
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ตามลำดับขั้นของกฎมณเฑียรบาลหรือเพราะปรีดีสนับสนุน? (1)
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
สัมภาษณ์พิเศษ
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือเศษซากอุดมการณ์การเมืองของเผด็จการ
เดวิด สเตรคฟัสส์
มนุษยภาพ
ปรามูเดียอนันตา ตูร์
ภัควดี วีระภาสพงษ์
นวนิยายพิฆาตอาณานิคม
ปรามูเดียอนันตา ตูร์ เขียน ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปล
รายงานพิเศษ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสังคมไทย
ธนาพล อิ๋วสกุล
การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในมนุษยศาสตร์
สรัญญา มูลมา
ในกระแส
ก้าวแห่งชัยของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ฝรั่งเศส
ปิยะมิตร ลีลาธรรม
ชานหนังสือ
บทบรรณาธิการ
ภูมิศาสตร์การเมืองเพื่อดับไฟใต้
มะรือโบออก เจาะไอร้อง บาเจาะ ดุซงญอกรือเซะ สะบ้าย้อย สุไหงปาดี ระแงะ ปะนาเระ บองอ ตากใบ ตันหยงลิมอร์ ฯลฯ รายชื่อพื้นที่ข้างต้นถ้าไม่บอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ขวานทองของไทย” เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าเป็นดินแดนต่างด้าวเสียด้วยซ้ำ นี่ไม่ต้องพูดถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา สภาพปัญหา ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในพื้นที่ว่าเป็นเช่นไร
แต่พื้นที่เหล่านี้กลับมาเป็นที่กวนใจต่อมโนทัศน์เรื่องการเป็นสังคมแห่งความสมานฉันท์ของสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นที่เกิดเหตุที่ชวนสลดหดหูไม่ว่าจะเป็นการปล้นปืน การฆ่าตัดคอพระสงฆ์การทำร้ายครูนาวิกโยธิน การฆ่ายกครัวทั้งครอบครัวพุทธและมุสลิม การล้อมปราบผู้ชุมนุมโดยเปิดเผย ฯลฯ
ภายใต้ภาวการณ์เช่นนี้ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา “ไฟใต้” มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอจากซีกรัฐบาลเองจากของรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, พรรคการเมืองและ “ภาคประชาชน” (ดู กองบรรณาธิการ, “วิวาทะปฏิรูปการเมืองภาคใต้, ฟ้าเดียวกัน, 3: 2 (เมษายน-มิถุนายน, 2548), หน้า 102 -110] และล่าสุดคือข้อเสนอ “เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์” ของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ที่เปิดตัวรายงาน
พร้อม ๆ กับการปิดตัวเองของคณะกรรมการชุดดังกล่าวในวันที่ 5 มิถุนายน 2549
ในฐานะสื่อด้านหนึ่งคือการเผยแพร่ข้อสนเทศของรายงานชิ้นดังกล่าวพร้อมๆ กับบทวิพากษ์จากหลากหลายทัศนะเท่าที่โอกาสและเวลาจะอำนวย แต่อีกด้านหนึ่งของคนที่อยู่ใต้ฟ้าเดียวกันกับพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็อดที่จะรู้สึกเป็นห่วงถึงปฏิกิริยาตอบรับต่อรายงานชิ้นดังกล่าวไม่ได้ เริ่มตั้งแต่การไม่ไยดีที่จะไปรับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี การไม่มีเวลาอ่านของรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบต้านความมั่นคง ตลอดจนความเข้าใจผิด (?) ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากคิดว่า กอส. เสนอให้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการใน 3 จังหวัดภาคใต้ (มติชน, 26 มิถุนายน 2549) ทั้งที่ความจริง กอส. เสนอให้ภาษามลายูเป็นภาษาใช้งาน (working language)
ในทัศนะของเรา การใช้ “ภาษาอื่น” เป็นภาษาใช้งานเป็นเรื่องปกติไม่ว่าการ “กู้กำเมือง” ในภาคเหนือ “เว่าลาว” ในภาคอีสาน การ “สปีคอิงลิชแบบงูๆ ปลา ๆ “ ที่พบได้ตามสื่อต่าง ๆ หรือแม้การที่ภาษามลายูจะเป็นภาษาราชการเราก็เห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก และทำลายเอกลักษณ์และความมั่นคงของชาติไทยแต่อย่างใด ขณะที่เรื่องภาษายังมีปัญหาขนาดนี้ คงป่วยการที่จะพูดถึง การตั้งกองกำลังไม่ติดอาวุธที่เรียกว่าสันติเสนา, การสานเสวนากับผู้ก่อความไม่สงบ, การตั้งศาลซาริอะห์ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่ กอส. ไม่กล้าเสนอตรงๆ คือการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ (Autonomous)
แต่จากกรณีปัญหาเรื่องภาษากลับเป็นกระจกส่องว่า หากจะแก้ปัญหาไฟใต้ ปัญหาอาจไม่อยู่แต่เพียงในพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงเท่านั้น แต่รากเหง้าของปัญหาอาจมาจากความรุนแรงของรัฐไทยเองที่รับมรดกการปกครองแบบอาณานิคมที่ไม่เคยไว้ใจท้องถิ่นในการจัดการปัญหาของตนเอง และข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างถึงรากของไฟใต้อาจจะต้องทำทั้งพื้นที่ประเทศไทย นั่นคืออำนาจรัฐ โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ ต้องปรับตัวเองพร้อมๆ กับการที่ชุมชนมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องทบทวนท่าทีของตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่
ดังนั้น ปัญหาเร่งด่วนในทัศนะของเรา-ฟ้าเดียวกัน คือการเปลี่ยนภูมิศาสตร์การเมืองเพื่อดับไฟใต้ ให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทย
…………..
สำหรับผู้อ่านฟ้าเดียวกันทุกท่านเรามีเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบคือตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป ฟ้าเดียวกันขอปรับราคาเป็นฉบับละ 150 บาท ขณะที่สมาชิก 1 ปี (4 ฉบับ) เราขอปรับราคาเป็น 500 บาท เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าราคาที่ปรับขึ้นมาคงไม่เป็นการรบกวนท่านจนเกินไป พร้อมกันนี้เราได้เปิดช่องทางสื่อสารใหม่แก่ผู้อ่านทุกท่านคือ www.sameskybooks.org และติดต่อเราโดยตรงที่ E-mail: [email protected]
พบกันฉบับหน้ากับการระดมนักคิดครั้งสำคัญใน
“โครงการเปลี่ยนประเทศไทย”