สารบัญ
บทบรรณาธิการ
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน
หาเรื่องมาเล่า
เปิดตัวเว็บไซต์ ‘นิติราษฎร์’: เปิดแนวรบทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา
ดาริน อินทร์เหมือน
จาก “ชาวนา” สู่ “ชาวบ้านผู้รู้จักโลกกว้าง” : ความเปลี่ยนแปลงของ “ชนบท” อีสาน
ดาริน อินทร์เหมือน
คำขบวน
New Social Movements :ขบวนการสังคมใหม่
ภัควดี วีระภาสพงษ์
พากย์สนาม
High Stakes :การเดิมพันครั้งใหญ่ ชนพื้นเมือง เงินตรา และอำนาจอธิปไตย
บุญเลิศ วิเศษปรีชา
มหาชนทัศนะ
“กษัตริย์ไม่อาจครองราชย์” เครื่องมือแก้ไขปัญหา กรณีกษัตริย์เบลเยี่ยมไม่ยอมลงนามประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ปิยบุตร แสงกนกกุล
รายงานพิเศษ
ชนชั้นนำไทยกับการ “เปลี่ยนผ่าน” รัชสมัย : อนุสนธิจากโทรเลขทูตสหรัฐ ฯ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2553 ในวิกีลีกส์
ธนาพล อิ๋วสกุล
ทัศนะวิพากษ์
การปฏิวัติสยาม 2475 (ชั่วคราว)?: พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และอำนาจตุลาการหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ชาดกในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย: บทวิจารณ์หนังสือเอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ของวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย
ณัฐพล ใจจริง
ชนชั้นใหม่ ชนบทใหม่ และท้องถิ่นใหม่: บททบทวนวรรณกรรมว่าด้วยการเมืองไทยในทศวรรษ 2530-2550
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขบวนการคนเสื้อแดง การเมืองท้องถิ่น และประชาธิปไตย
พฤกษ์ เถาถวิล
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของไทย
ธงชัย วินิจจะกูล เขียน พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ แปล
การแสวงหาข้อเท็จจริงและกระบวนการรับผิด : กรณีการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53
สาวตรี สุขศรี
ลงทัณฑ์ผู้นำเขมรแดง: 30 ปีก็ไม่สายเกินไป
พวงทอง ภวัครพันธุ์
ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน : กรณีศึกษาประเทศอาร์เจนตินา
ภัควดี ไม่มีนามสกุล
การรัฐประหาร 11 กันยาฯ (9/11) กับการปราบปรามประชาชนในประเทศชิลี : จากระบอบปิโนเชต์สู่กระบวนการยุติธรรมข้ามชาติ
จิตจิภัทร พูนขำ,สลิสา ยุกตะนันทน์
ความรุนแรงในประเทศอาร์เมเนียและไทย : สาเหตุเดียวกัน เหตุการณ์แบบเดียวกัน ข้อสรุปก็น่าจะเหมือนกัน
แดนทอง บรีน
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน : เมื่อโลกไม่หันหลังให้โศกนาฏกรรม
ประจักษ์ ก้องกีรติ
หน้าซ้ายในประวัติศาสตร์
ว่าด้วยค่ารายงานของหลี่จี้ชินในการประชุมตัวแทนทั่วประเทศพรรคคอมมิวนิสต์ไทยครั้งแรก ธันวาคม พ.ศ. 2485
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
เอกสารสถาปนาแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น และขยายการต่อสู้ต่อต้านญี่ปุ่น
บทบรรณาธิการ
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยน (ไม่) ผ่าน
โดยไม่ต้องรอให้ผลสอบของคณะกรรมการ “ค้นหา” ความจริงชุดใดๆ ออกมามวลชนเสื้อแดงที่ไปชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ในโอกาสครบรอบ 4 เดือนการสังหารหมู่พฤษภาคม 2553 ก็ได้เขียนรายชื่อ “ผู้ต้องสงสัย” ที่พวกเขาคิดว่าเป็นผู้สั่งการให้ล้อมปราบมวลชนเสื้อแดงในเหตุการณ์นองเลือดเมษายน-พฤษภาคม 2553 แต่ไม่ทันรุ่งสาง ข้อความดังกล่าวก็ถูกลบออกไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นี่เป็นอีกหนึ่งในข้อจำกัดของการแสวงหาข้อเท็จจริงในสังคมไทยเกี่ยวกับการฆาตกรรมทางการเมืองในระยะเวลาอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 หรือ พฤษภา 35
หากแม้แต่การสงสัยยังเกิดขึ้นไม่ได้ ก็คงยากที่ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านอันจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายจะเกิดขึ้น
เมื่อการหาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านไม่เกิดขึ้น ก็อย่าหวังว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้นตามมา
เมื่อความยุติธรรมไม่เกิดขึ้น ก็เป็นไปไม่ได้ที่การสมานฉันท์/ปรองดองที่หลายคนเรียกร้องจะเกิดขึ้น
ธงชัย วินิจจะกูล ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความยุติธรรมยากจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย ก็คือ “ไม่มี “‘การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ (regime change)’เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สุดในการแสวงหาความยุติธรรมหรือการปรองดองใดๆ”
อะไรคือ “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” ธงชัยให้คำนิยามสั้นๆ ว่า คือการที่ “ผู้ที่อาจมีบทบาทโดยตรงหรือโดยอ้อมในการปราบปรามเข่นฆ่า หรือผู้ที่มีส่วนได้เสียกับผลของการสืบสวน จะต้องออกจากอำนาจและพ้นไปจากกลไกการแสวงหาความยุติธรรมและการปรองดอง” (ดู ธงชัย วินิจจะกูล “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของไทย” หน้า 132-137)
คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ถ้าในปัจจุบันไม่มี “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” เกิดขึ้น หรืออาจจะต้องใช้เวลานานนับทศวรรษดังเช่นหลายกรณีในอเมริกาใต้แล้ว เราไม่ควรทำอะไรเพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมหรือ ?
เราไม่ต้องแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่าที่มีช่องทางเอื้ออำนวยหรือ?
เราไม่ต้องเยียวยาผู้บาดเจ็บ พิการ ตลอดจนญาติวีรชนที่ต้องสูญเสียคนที่เขารักหรือ?
เราไม่ต้องเก็บรวบรวม/ถ่ายทอดความทรงจำ เพื่อสร้างเป็นความทรงจำร่วมของสังคมต่อเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 หรือ?
จะมีประโยชน์อันใดเล่า ถ้ามี “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” เกิดขึ้นจริง แต่เราไม่มีพยานหลักฐานที่จะเอาผิดฆาตกรผู้สั่งฆ่าประชาชน?
จะมีประโยชน์อันใดเล่า ถ้ามี “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” แล้ว เอาคนสั่งการมาลงโทษได้ แต่ผู้บาดเจ็บ พิการ ตลอดจนญาติวีรชน ถูกทอดทิ้งให้เป็นสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์?
จะมีประโยชน์อันใดเล่า ถ้ามี “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” แล้ว แต่กลับไม่มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้กับเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 หรือความรุนแรงทางการเมืองอื่นๆ ที่ถูกปิดทับมานานนับทศวรรษ?
ภายใต้สภาพการณ์ที่ “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ” ยังไม่เกิดขึ้น หรือที่เราเรียกว่าในระยะ “เปลี่ยน (ไม่) ผ่าน” การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมนั้นแยกไม่ออกจากความพยายามที่จะ “เปลี่ยนแปลงระบอบ” ที่ขัดขวางการแสวงหาความยุติธรรม
สุดท้าย ภายใต้สภาพการณ์ที่ “ความยุติธรรมเปลี่ยน (ไม่) ผ่าน” บทกวี “บวงสรวงวีรชน” ของไพบูลย์ วงษ์เทศ ที่เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 สามารถสะท้อนจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยได้เป็นอย่างดี เราจึงขอยกมากล่าวซ้ำ ณ ที่นี้
แม้ดับเทียนสีทองส่องสว่าง
มิอาจกับรอยด่างให้เลือนได้
วันนี้ไม่มีเสียงสำเนียงใด
พรุ่งนี้เสียงจะใสถึงดวงดาว
ดาวจักเรืองแจ่มหล้าเมื่อฟ้าหม่น
เดือนจะโรจน์อำพนเมื่อมืดหาว
เรียงถ้อยร้อยกวีวะวับวาว
บันทึกคราวคับแค้นในแดนไตร
แม้ไม่มียุติธรรมในวันนี้
แต่ขอบฟ้ายังมีอรุณใหม่
ใครก่อเวรสร้างกรรมกระทำไว้
จักต้องรับชดใช้ชำระคืน