Sale 10%

ฟ้าเดียวกัน 16/1 : พระมหากษัตริย์กระฎุมพี

Original price was: 200.00 บาท.Current price is: 180.00 บาท.

ของหมด

รหัส: 9786167667713 หมวดหมู่:

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

สถาบันรัฐประหาร

ทัศนะวิพากษ์

กษัตริย์กระฎมพี : มรดกทางประวัติศาสตร์จากรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

ปวงชน อุนจนำ

ชีวาณูสงเคราะห์: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพใต้ร่มพระบารมี ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ปกรณ์ คงสวัสดิ์

เสียงจาก ผู้ถูกกระทำในเหตุการณ์พฤษภา 53 ที่อุบลราชธานี

บุญเลิศ วิเศษปรีชา

ปัญหาของหนังสือ Revolution Interrupted ของไทเรล ฮาเบอร์คอร์น อันเนื่องมาจากการ วิจารณ์ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

วันพัฒน์ ยังมีวิทยา

การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน และทิศทางใหม่สำหรับประวัติศาสตร์

ไทเรล ฮาเบอร์คอรน์ เขียน เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว แปล

บทบรรณาธิการ

สถาบันรัฐประหาร

อีกไม่กี่วันคณะรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็จะยึดครองประเทศไทยครบ 4 ปี อาจฟังดูเหมือนยาวนาน แต่ที่จริงแล้วคนไทยอยู่กับรัฐประหารมายาวนานกว่านั้นมาก จนกลายเป็นความคุ้นชินของคนไทยจำนวนหนึ่งไปแล้ว ถ้าคุณอายุ 60 ปี (เกิดปี 2501) ในชีวิตก็จะเจอรัฐประหาร 7 ครั้ง (2501, 2514, 2519, 2520, 2534, 2549, 2557) อายุ 50 ปี (เกิดปี 2511) เจอ 6 ครั้ง อายุ 30-40 ปี (เกิดปี 2521-2531) เจอ 3 ครั้ง อายุ 20 ปี (เกิดปี 2541) เจอ 2 ครั้ง อายุ 10 ปี (เกิดปี 2551) เจอ 1 ครั้ง

ความถี่ข้างต้นทำให้กล่าวได้ว่า รัฐประหารได้กลายเป็นสถาบันทางการเมืองของไทยไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของชนชั้นนำไทยว่ารัฐประหารคือการจัดการปัญหา ดังแผนผังวงจรอุบาทว์การเมืองไทย

รัฐธรรมนูญ

รัฐประหาร                     เลือกตั้ง

วิกฤตการเมือง

หากหันไปมองประเทศอื่นๆ ทั่วโลก กลับพบว่าตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2543) จนถึงปัจจุบัน การรัฐประหารโดยตรงของกองทัพ (military coup) เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มีรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จเพียง 9 ครั้งเท่านั้นที่กองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและโค่นล้มระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยลงได้ ทั้ง 9 ครั้งเกิดขึ้นในประเทศอย่างกินีบิสเซา (2003 และ 2012) ฟิจิ (2006) บังคลาเทศ (2007) ฮอนดูรัส (2009) มาลี (2012) อียิปต์ (2013) และอีก 2 ครั้งในประเทศไทย (2006 และ 2014) โดยมีเพียงแค่กินีบิสเซา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดในโลกและประเทศไทยเท่านั้น ที่เกิดรัฐประหารซ้ำถึง 2 ครั้งในเวลา ไม่ถึง 10 ปี (ดู ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐประหารในศตวรรษที่ 21 : สัญญาไม่เป็นสัญญาและความด้อยพัฒนาทางการเมือง,” the 101.world, 22 พฤษภาคม 2560, https://www. the101.World/thoughts/coup-in-21st-century/)

ขณะที่ในนานาอารยะประเทศ รัฐประหารเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่สำหรับคนไทย รัฐประหารกลับเป็นความชั่วร้ายที่จำเป็น ดังที่อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารและตัวแทนของชนชั้นนำ ได้แก้ต่างให้กับรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ว่า ฝรั่งเขาบอกว่ามี รัฐประหารคราวนี้เท่ากับทำลาย ประชาธิปไตย คำถามที่ผมตอบไปบอกว่า ถามจริงๆ เถอะ ยูคิดว่า 3 ปี 5 ปีที่ผ่านมาเราเป็นประชาธิปไตยจริงๆ หรือ ฝรั่งไม่เคยกล้าตอบผมว่าเขาคิดว่าเป็นประชาธิปไตย… รัฐประหารในเมืองไทย เกิดขึ้นหลายครั้ง และหลายครั้งผมก็ไม่เห็นด้วย และหลายครั้งผมก็เข้าใจเหตุผล คราวนี้ผมก็เข้าใจเหตุผลว่ามันมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องทำ” (ดู “ ‘อานันท์-ภิญโญถูก เรื่องรัฐประหาร บอกมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องทำ,’ ” ไทยพับลิก้า, 15 สิงหาคม 2557, https://thaipublica.org/2014/08/anand-panyarachun-talk/)

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชนชั้นนำเหล่านี้ไม่เคยตระหนักก็คือ ทุกวันนี้การทำรัฐประหารในประเทศไทยไม่ได้ง่ายอีกต่อไปแล้ว ในอดีตเพียงแค่จับกุมนายกรัฐมนตรีบนเครื่องบินก็สามารถจบเรื่องได้ แต่รัฐประหาร 2 ครั้งหลังได้ใช้ต้นทุนของชนชั้นนำไปไม่น้อยเพื่อปูทางให้รัฐประหารสำเร็จ กล่าวคือ ต้องขับเคลื่อนมวลชนขนานใหญ่ ศาลต้องลงมาเล่นการเมือง องค์กรอิสระต้องตีความกฎหมายตามใจชอบ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องลงมาชี้โพรงให้รัฐประหาร ฯลฯ และจบลงที่กองทัพขับรถถังออกมา

ถึงแม้จะรัฐประหารสำเร็จแล้วก็จำเป็นต้องอาศัยตัวช่วยมาประคับประคอง โดยต้องทำอย่างเปิดเผยเพื่อให้สาธารณชนเห็นว่ากองหนุนยังทำงานอยู่ ดังที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 ได้สารภาพอย่างหน้าชื่นตาบานว่า กำลังทำผิดรัฐธรรมนูญ ตนเป็นองคมนตรี และ พล.อ.สุรยุทธ์ก็เป็นองคมนตรี รัฐธรรมนูญได้บัญญัติห้ามองคมนตรียุ่งเกี่ยวกับการเมือง เมื่อตนไปพูดอะไรก็ถูกตำหนิว่าเป็นองคมนตรี จะพูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้ ก็บอกเขาว่า ที่พูดไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องของชาติบ้านเมือง เพราะฉะนั้นย่อมมีสิทธิ์ที่จะพูด” (“ป๋าเปรมปลุกให้ปรองดองเพื่อชาติ ยกย่อง สุรยุทธ์เทียบ วินส์ตั้นเชอร์ชิลด์,’ ” ผู้จัดการออนไลน์, 15 พฤศจิกายน 2549, http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID= 9490000141356)

ท่ามกลางข่าวอื้อฉาวของรัฐบาลรัฐประหาร 2557 ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่น แหวนพ่อนาฬิกาเพื่อนระบบอุปถัมภ์พวกพ้อง และความด้อยความสามารถในการบริหารประเทศ ทำให้ กองหนุนที่ร่วมกันสร้างเงื่อนไขให้เกิดรัฐประหารยิ่งลดน้อยถอยลง ซึ่งถ้าไม่ล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ ก็ ตาสว่างประจักษ์ว่ารัฐประหารไม่ใช่ทางออกของประเทศ

คณะรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คงจะต้องลงจากอำนาจไม่ช้าก็เร็ว แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ในอนาคตสถาบันรัฐประหารยังจะมีความชอบธรรมเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าไม่ ก็น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับประชาธิปไตยในประเทศไทย

ทดลองอ่าน