ฟ้าเดียวกัน 4/3 : โครงการเปลี่ยนประเทศไทย

ลดราคา!

฿135.00


รหัสสินค้า: 9789749477113 หมวดหมู่:

ข้อมูลสินค้า

บทบรรณาธิการ

ใต้ฟ้าเดียวกัน

เมืองไทย

สากล

ปฏิกิริยา

ดอกผลและหนทางข้างหน้า

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

ทัศนะวิพากษ์

โครงการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย

พลวัตทุนไทยและแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองไทย

ผาสุก พงษ์ไพจิตร

มรดกรายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

ชัยวัฒน์สถาอานันท์

วิวาทะว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2

บรรเจิด สิงคะเนติ, สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, ธงชัย วินิจจะกูล

สรุปประเด็นการสัมมนา

เกษียร เตชะพีระ

คำขบวน

Black Bloc แนวร่วมชุดดำ

ภัควดี วีระภาสพงษ์

รายงานพิเศษ

เปิดคำฟ้องยกเลิกคำสั่งยึด ฟ้าเดียวกัน

ธนาพล อิ๋วสกุล

ชานหนังสือ

ในกระแส

เวเนซุเอลาจะไปทางไหน?

ปิยะมิตร ลีลาธรรม

อ่านต่อ >>

เปลี่ยนประเทศไทย

ในบรรดาข้อกล่าวหาที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าจะเป็น นโยบายเศรษฐกิจประชานิยม ที่หว่านเงินเพื่อซื้อใจคนรากหญ้า ขณะเดียวกันก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมหาศาลผ่านโครงการเมกะโปรเจ็กต์, การบริหารประเทศแบบซีอีโอ ที่บูรณาการอำนาจมาขึ้นต่อรัฐบาลส่วนกลางและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง จนเกิดปัญหาไฟใต้ที่ดูจะลุกลามเกินกำลังที่รัฐบาลจะรับได้, การดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เอาผลประโยชน์ ชาติไปแลกกับผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องบริวาร, การแปรเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนมารับใช้ตนเองโดยเฉพาะการแทรกแซงองค์กรอิสระ หรือแม้กระทั่งการ ทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นแต่เพียงสัญลักษณ์ให้มากที่สุดดังที่ปรากฏอยู่ใน ปฏิญญาฟินแลนด์ฯลฯ

ไม่ว่าข้อกล่าวหาเหล่านั้นจะเป็นจริงมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวคือความคิดที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ได้ เปลี่ยนประเทศไทยไปแล้ว แต่นั่นก็ไม่เท่ากับว่า ภายใต้การดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ ซื้อใจคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 ถึง 18,993,703 คนหรือ 42.16 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

แต่ภายใต้ความเข้มแข็งดังกล่าวกลับเป็นเพียงภาพลวงตา เมื่อรัฐบาลที่ได้รับ ฉันทามติจากประชาชนมากมายขนาดนั้นต้องยุบสภาภายหลังจากบริหารประเทศเพียง 1 ปี แน่นอนว่าเหตุผลหลักที่ทำให้อายุขัยของรัฐบาลที่ดูเหมือนจะเข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอายุสั้นถึงเพียงนั้นก็เนื่องมาจาก

กระแสต่อต้านที่มีมากขึ้นเป็นลำดับอันเกิดจาก ดีลอัปยศเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 นั่นเอง

เมื่อมองให้ลึกลงไปในกระแส ท้ากกกสิน…ออกไปแล้วจะพบว่าประกอบด้วยคนอย่างน้อยก็ 3 ประเภทคือไม่พอใจวิธีสร้างนโยบาย, ไม่พอใจการดำเนินนโยบาย และไม่พอใจวิธีบริหารนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่ตอบคำถามนี้ได้โดยตรง

และเป็นที่น่าสังเกตว่า แนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หลังทักษิณเท่าที่มีการนำเสนอออกมาก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางใด? นิธิ เอียวศรีวงศ์ ถึงกับสรุปว่า หากถามฝ่ายไม่เอาทักษิณว่า ไม่เอานโยบายอะไรของทักษิณบ้าง คงต้องเถียงกันเละทีเดียว” (“ความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย,” มติชนรายวัน, 28 สิงหาคม 2549)

หรือว่ากลุ่มที่เรียกร้อง ท้ากกกสิน…ออกไปพอใจอยู่แค่นี้ เพราะเกรงว่าขบวนการจะ เละก่อนภารกิจ ไล่จะสำเร็จ?

สำหรับเราแล้ว ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ไม่เป็นสิ่งที่น่าพอใจนัก เพราะประวัติศาสตร์ได้สอนให้รู้ว่า ถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง เมื่อหน้าต่างทางประวัติศาสตร์เปิดขึ้นเมื่อใด บทบาทของประชาชนก็เป็นได้เพียงเบี้ยหมากสำหรับการเปลี่ยนแปลง และมักจะถูกเขี่ยออกไปและแทนที่ด้วย ชนชั้นนำที่ฉวยโอกาสรับเหมาทำแทนทุกครั้งไป 1 ได้

และนี่เองจึงเป็นที่มาของการแสวงหาทางเลือกในการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปสังคมไทย ที่เรา ฟ้าเดียวกัน ได้จัดสัมมนาเรื่อง โครงการเปลี่ยนประเทศไทยขึ้น โดยเชิญนักวิชาการสาขาต่างๆ มาร่วมเสนอ/ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันถึงพลวัตของสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการปฏิรูปสังคมไทยใน อนาคต

แน่นอนว่า สำหรับบางคนที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงโลกการสัมมนาเพียง 2 วันเป็นได้มากที่สุดก็เพียงการ อธิบายโลกแต่เราเชื่อว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะบรรลุเป้าหมายได้ หากขาดการอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลพอและเปิดโอกาส ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรี

อ่านต่อ >>